เลือกใช้สุขภัณฑ์อย่างไรให้เหมาะสมในยุค New Normal

เลือกใช้สุขภัณฑ์อย่างไรให้เหมาะสมในยุค New Normal

เมื่อพูดถึงตัวบ้านห้องทุกห้องล้วนมีความสำคัญต่อการใช้ชีวิตประจำวันของเจ้าของบ้านแทบทั้งสิ้น โดยเฉพาะห้องน้ำห้องส้วม ซึ่งเป็นห้องที่จะต้องมีการใช้งานแทบทุกวัน ดีไม่ดีวันนึงก็หลายครั้ง ดังนั้นการออกแบบและการเลือกใช้สุขภัณฑ์จึงเป็นสิ่งสำคัญที่เจ้าของบ้านทุกท่านจำเป็นจะต้องใส่ใจและคำนึงถึงในการออกแบบบ้านทุกครั้ง

เลือกใช้สุขภัณฑ์อย่างไรให้เหมาะสมในยุค New Normal

ในการเลือกใช้โถสุขภัณฑ์หรือสุขภัณฑ์อื่น ๆ ในห้องน้ำรวมถึงการออกแบบล้วนสำคัญต่อการใช้งานบ้านในระยะยาว เนื่องจากห้องน้ำเป็นห้องที่ทุกคนในบ้านจะต้องใช้ร่วมกัน อีกทั้งหากออกแบบมาไม่ดี สุขภัณฑ์ไม่ได้มาตรฐาน ก็มีโอกาสกลายเป็นแหล่งสะสมของเชื้อโรคและทำให้สุขภาพของครอบครัวของท่านแย่ลงได้เช่นกัน บทความนี้ผมจึงมาพูดถึง 3 สิ่งสำคัญที่ท่านจะต้องคำนึงและตระหนักถึงในการสร้างและออกแบบห้องน้ำ

3 สิ่งที่ต้องคำนึงถึงเวลาออกแบบห้องน้ำ

เลือกใช้สุขภัณฑ์อย่างไรให้เหมาะสมในยุค New Normal

1 รูปแบบการออกแบบ
สิ่งแรกที่สำคัญที่สุดในการสร้างห้องน้ำคือ การออกแบบ ซึ่งจำเป็นจะต้องออกแบบให้ห้องน้ำมีระบบระบายอากาศที่ดี สามารถระบายอากาศได้ง่าย เพื่อลดกลิ่นและลดโอกาสที่เชื้อโรคจะสะสมอยู่ในอากาศภายในห้องน้ำ นอกจากนี้ก็ต้องมีแสงแดดเข้าถึงเพียงพอ แล้วถ้าเป็นไปได้ก็ควรออกแบบให้แยกระหว่างพื้นที่แห้งและพื้นที่เปียกเพื่อง่ายต่อการใช้งาน การดูแลและทำความสะอาด

นอกจากนี้ก็ควรที่จะออกแบบให้ห้องน้ำอยู่ชิดมุมใดมุมหนึ่งของตัวบ้านหรือชิดติดกับผนังของบ้านด้านใดด้านหนึ่ง เพื่อให้สามารถทำรูระบายอากาศและช่องรับแสงได้ดี หรือหากติดขัดในข้อจำกัดต่าง ๆ ไม่สามารถทำได้อย่างที่กล่าวมาข้างต้น อย่างน้อยที่สุดก็ควรจะติดตั้งระบบปรับอากาศหรือพัดลมปรับอากาศเชื่อมต่อกับท่อระบายอากาศไปสู่ภายนอกตัวบ้านเอาไว้ ทั้งนี้นี่เป็นจุดสำคัญที่สุดเพื่อเป็นการระบายอากาศและระบายเชื้อโรคที่อาจสะสมอยู่ในอากาศของห้องน้ำ และยังป้องกันกลิ่นไม่พึงประสงค์ที่มีโอกาสหลุดรั่วออกมา

เลือกใช้สุขภัณฑ์อย่างไรให้เหมาะสมในยุค New Normal

2 การเลือกใช้โถสุขภัณฑ์
จริง ๆ แล้วในการเลือกใช้สุขภัณฑ์ไม่ว่าจะเป็นโถสุขภัณฑ์ อ่างล้างหน้า อ่างน้ำหรือส่วนอื่น ๆ ในห้องน้ำ ล้วนสำคัญทั้งหมด แต่จะขอกล่าวถึงโถสุขภัณฑ์เป็นพิเศษเนื่องจากเป็นจุดที่ละเอียดอ่อนและสำคัญต่อการใช้งานมากที่สุด เพราะหากเลือกไม่ดีก็จะมีปัญหาในระยะยาวอย่างมาก

ในการเลือกใช้โถสุขภัณฑ์จำเป็นจะต้องเลือกโถสุขภัณฑ์ที่สามารถทำความสะอาดได้ง่าย ทั้งนี้ก็เพื่อให้ลดความเสี่ยงในการสะสมของเชื้อโรค ซึ่งคุณสมบัติหลัก ๆ ก็จะเป็น การมีระบบระบายน้ำที่ดี การทำความสะอาดได้อย่างดีเยี่ยม กดแค่ครั้งเดียวก็สะอาดหมดจด ไม่ควรมีซอกมุมตามโถ เพราะมีโอกาสที่เชื้อโรคสิ่งสกปรกจะไปอุดตันแล้วกลายเป็นแหล่งสะสมเพาะพันธุ์เชื้อโรค ที่สำคัญก็คือจะต้องประหยัดน้ำและสวยงามเหมาะสมกับห้องน้ำด้วย

เลือกใช้สุขภัณฑ์อย่างไรให้เหมาะสมในยุค New Normal

3 การดูแลรักษาภายในห้องน้ำ
เมื่อห้องน้ำถูกออกแบบมาอย่างดีแล้ว มีการเลือกใช้โถสุขภัณฑ์ที่เหมาะสม ทำความสะอาดง่าย ประหยัดน้ำและสวยงาม นอกจากนี้ส่วนอื่น ๆ ของห้องน้ำก็ถูกออกแบบมาอย่างดีเหมาะแก่การใช้งานแล้ว สิ่งสำคัญต่อมาคือการใช้งานและการดูแลรักษาในระยะยาว ห้องน้ำที่ดีควรจะได้รับการรักษาความสะอาดโดยเฉพาะอย่างยิ่ง พื้นควรจะแห้งให้ได้ตลอดเวลา ยกเว้นแต่จะเป็นพื้นที่เปียกที่ถูกกำหนดไว้ตอนออกแบบ

นอกจากนี้ควรจะต้องมีการล้างทำความสะอาดตัวห้องน้ำอย่างน้อยเดือนละ 2-3 ครั้ง มีการจดบันทึกและเช็คระยะการดูดส้วมอยู่เป็นประจำ การวางสิ่งของต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นขวดแชมพู สบู่ ยาสระผม ควรวางให้เป็นระเบียบ เพราะหากวางไม่เป็นระเบียบแล้วหล่นลงมาเกะกะตามพื้นก็มีโอกาสจะทำให้เกิดอุบัติเหตุสะดุดลื้นล้มได้ง่าย ๆ เวลาพื้นเปียกหรือลื้น

ทั้งหมดนี้คือ ข้อควรรู้และควรคำนึงในการออกแบบห้องน้ำได้เลือกใช้สุขภัณฑ์ให้เหมาะสมในยุค New Normal เพราะเราคงไม่สามารถปฏิเสธได้อีกต่อไปว่าการใช้ชีวิตหลังจากนี้จะต้องคำนึงถึงความสะอาดและสุขอนามัยมาเป็นที่หนึ่ง ไม่ว่าจะเป็นในระหว่างช่วงวิกฤตโรคระบาดหรือหลังจากนี้ก็ตาม ดังนั้นห้องน้ำจึงเป็นหนึ่งในส่วนสำคัญที่สุดของบ้านที่จำเป็นจะต้องใส่ใจในการออกแบบและเลือกใช้สุขภัณฑ์ต่าง ๆ สุดท้ายหวังว่าบทความนี้จะให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์กับท่านที่ต้องการจะสร้างห้องน้ำ หรือกำลังเลือกซื้อสุขภัณฑ์ต่าง ๆ นะครับ

 

เฟอร์นิเจอร์บิ้วอินกับเฟอร์นิเจอร์ลอยตัว ต่างกันยังไง เลือกแบบไหนดี

เฟอร์นิเจอร์บิ้วอินกับเฟอร์นิเจอร์ลอยตัว

หนึ่งในคำถามที่เจ้าของบ้านที่เพิ่งขึ้นบ้านใหม่หรือกำลังตัดสินใจสร้างบ้านมักจะมีเหมือนกันนั่นก็คือ จะเลือกเฟอร์นิเจอร์แบบไหนดี ซึ่งพอพูดถึงเฟอร์นิเจอร์ก็จะมีอยู่ 2 แบบให้เลือกคือ เฟอร์นิเจอร์บิ้วอินและเฟอร์นิเจอร์ลอยตัว ซึ่งทั้ง 2 แบบมีความแตกต่างกันในแง่ของการติดตั้ง ดังนั้นวันนี้ผมจึงเอาข้อแตกต่างของทั้ง 2 แบบ มาบอกกับทุกท่านไม่ว่าจะเป็นข้อดีหรือข้อจำกัดของแต่ละแบบที่ท่านควรจะนำไปคำนึงถึงเวลาเลือกใช้งาน

เฟอร์นิเจอร์บิ้วอินกับเฟอร์นิเจอร์ลอยตัว

 

ความแตกต่างระหว่างเฟอร์นิเจอร์บิ้วอินกับลอยตัว

ความแตกต่างของเฟอร์นิเจอร์ทั้ง 2 ประเภท อยู่ที่การติดตั้งเข้ากับตัวบ้าน เฟอร์นิเจอร์แบบบิ้วอินก็ตามชื่อเลยครับ เป็นเฟอร์นิเจอร์ที่ถูกออกแบบมาให้เข้ากับบ้านหลังนั้น ๆ โดยเฉพาะ(customize) ซึ่งโดยส่วนใหญ่เจ้าของบ้านจะไปดูแบบบ้านหรือแบบห้องที่ชอบแล้วเอามาคุยกับผู้รับเหมาหรือผู้ออกแบบบ้าน จากนั้นก็ทำการสั่งไปที่โรงงานผลิตเพื่อให้โรงงานนำมาประกอบเข้ากับตัวบ้าน โดยสัดส่วนทุกอย่างจะรับกับตัวบ้านแบบพอดี พูดง่าย ๆ คือเป็นการสร้างมาเฉพาะหลังเลย ไม่สามารถเคลื่อนย้ายหรือไม่สามารถนำไปไว้ที่บ้านหลังอื่นได้

สวนเฟอร์นิเจอร์แบบลอยตัว เป็นเฟอร์นิเจอร์โดยทั่วไปที่มีขายอยู่ตามท้องตลาด เจ้าของบ้านสามารถเดินหาเลือกซื้อเฟอร์นิเจอร์แบบที่ต้องการ เพื่อนำมาตกแต่งห้องในแบบหรือสไตล์ที่ตัวเองชอบ นอกจากนี้ยังสามารถเคลื่อนย้ายหรือยกไปไว้ตรงไหนของบ้านก็ได้

ถ้าให้พูดแบบง่าย ๆ คือแบบบิ้วอิน เป็นการออกแบบมาพร้อมกับตัวบ้านและติดตั้งกับตัวบ้านเลย ส่วนแบบลอยตัวเป็นการซื้อเข้ามาเติมเรื่อย ๆ

เฟอร์นิเจอร์บิ้วอินกับเฟอร์นิเจอร์ลอยตัว

ข้อดีและข้อจำกัดของเฟอร์นิเจอร์ทั้ง 2 ประเภท

1. ด้านวัสดุ
เบื้องต้นด้านวัสดุในการผลิตของเฟอร์นิเจอร์ทั้งสองชนิดแทบไม่แตกต่างกัน ถ้าหากว่าเป็นสเปคของวัสดุเดียวกัน ผลิตที่บริษัทเดียวกัน โรงงานเดียวกัน เรื่องวัสดุความคงทนแข็งแรงแทบไม่ต่างกัน แต่จะต่างตรงที่แบบบิ้วอิน จะเป็นการทำเฟอร์นิเจอร์แยกชิ้นส่วนแล้วมาประกอบติดตั้งที่หน้างานหรือตัวบ้าน แต่แบบลอยตัวจะทำมาเลยจากโรงงานเป็นแบบสำเร็จรูป
แบบเฟอร์นิเจอร์บิวท์อินก็มีข้อสังเกตเล็ก ๆ อยู่ตรงที่ ถ้าหากว่ามีปลวกขึ้นมากว่าจะสังเกตเห็นว่าเฟอร์นิเจอร์ปลวกขึ้นแล้วก็ต่อเมื่อปลวกมันกินเนื้อไม้เข้ามาระยะหนึ่งแล้วเท่านั้น อย่างไรก็แล้วแต่สามารถคุยกับโรงงานที่ผลิตเพื่อป้องกันปัญหานี้ได้เช่นกัน

2. การจัดวาง
อย่างที่บอกไปข้างต้นว่าเฟอร์นิเจอร์แบบบิ้วอิน จะมีการออกแบบมาพร้อมกับตัวบ้าน ให้มีสัดส่วนและอัตราส่วนของมุมต่าง ๆ เข้ากับบ้าน นอกจากนี้ยังสามารถออกแบบให้เข้ากับ Theme หรือรูปแบบห้อง กำหนดจุดมุมอับหรือจุดซ่อนรายละเอียดที่เราไม่อยากให้คนอื่นเห็น เช่น ปลั๊กไฟ หลอดไฟต่าง ๆ เป็นต้น สิ่งเหล่านี้แบบบิ้วอินสามารถกำหนดได้

แบบลอยตัวจะเป็นเฟอร์นิเจอร์สำเร็จรูปที่ออกแบบมาแล้วทำให้อาจจะไม่ตรงกับสัดส่วนของตัวห้องเท่ากับแบบบิ้วอิน โดยเฉพาะเรื่องการจัดวางมุมอับต่าง ๆ ที่อยากให้เฟอร์นิเจอร์ไปปิดหรือไปบัง ซึ่งตรงนี้ก็สามารถที่จะออกแบบและวางแผนการเลือกซื้อเฟอร์นิเจอร์ให้เหมาะสมกับตัวบ้าน เพียงแค่อาจจะต้องใช้เวลาในการหาเฟอร์นิเจอร์ที่ชอบและตรงตามความต้องการเท่านั้น

เฟอร์นิเจอร์บิ้วอินกับเฟอร์นิเจอร์ลอยตัว

3. อายุการใช้งาน
ตามปกติแล้วทั้งแบบบิ้วอินและแบบลอยตัวอายุการใช้งานจะไม่ต่างกัน เนื่องจากวัสดุที่ทำแทบไม่ต่างกันเลย เพียงแต่แบบบิ้วอินจะมีโอกาสเกิดปลวกหรือเกิดเสียหายจากการสั่นสะเทือนของตัวบ้านโดยที่ไม่ได้ตั้งใจได้มากกว่า อย่างไรก็ดีปัญหาเหล่านี้สามารถแก้ได้ด้วยการพูดคุยกับโรงงานหรือบริษัทที่รับผลิต โดยอาจมีการการันตีอายุการใช้งานของเฟอร์นิเจอร์ซึ่งตรงนี้ก็แล้วแต่ตกลง

4. ราคา
แน่นอนว่าเฟอร์นิเจอร์บิวท์อินจะต้องมีราคาที่ค่อนข้างสูงมากกว่า เนื่องจากเป็นการผลิตแบบ 1 ชิ้นตามความต้องการของผู้อยู่อาศัย จำนวนน้อยราคาก็จะสูงขึ้นตามไปด้วย สวนเฟอร์นิเจอร์แบบลอยตัวก็จะมีราคาที่เบาลงมาหน่อย เนื่องจากเป็นเฟอร์นิเจอร์สำเร็จรูปที่ถูกออกแบบและสร้างมาให้เหมือน ๆ กัน ทำให้สามารถทำราคาให้ต่ำกว่าได้

ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับความชอบและงบประมาณในการเลือกซื้อเฟอร์นิเจอร์สำหรับตกแต่งบ้านของแต่ละครอบครัว แต่ละบ้าน

เฟอร์นิเจอร์บิ้วอินกับเฟอร์นิเจอร์ลอยตัว

สำหรับคนที่ไม่ได้มีงบประมาณมากนัก สามารถเลือกใช้เฟอร์นิเจอร์แบบลอยตัวแทนแบบบิ้วอินได้ เนื่องจากเวลาต้องการเคลื่อนย้ายตำแหน่ง หรือต้องการย้ายบ้าน เฟอร์นิเจอร์แบบลอยตัวจะสะดวกมากกว่า

ทั้งหมดนี้ก็เป็นข้อมูลเกี่ยวกับเฟอร์นิเจอร์แบบลอยตัวและแบบบิ้วอินว่าทั้ง 2 แบบแตกต่างกันอย่างไร มีข้อดีและข้อจำกัดของแต่ละหัวข้ออย่างไรบ้าง สุดท้ายแล้วในการตกแต่งบ้านก็ขึ้นอยู่กับตัวเจ้าของบ้านเองว่าท่านมีงบประมาณในมือเท่าไหร่ รสนิยมในการใช้เฟอร์นิเจอร์เป็นอย่างไร และมีแผนที่จะย้ายบ้านหรือเปล่า สุดท้ายก็นำสิ่งเหล่านี้มาวางแผนเพื่อประกอบการตัดสินใจในการเลือกซื้อเฟอร์นิเจอร์เข้าบ้าน
สุดท้ายหวังว่าบทความนี้จะให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์กับผู้ที่ต้องการจะเลือกซื้อเฟอร์นิเจอร์เข้าบ้านนะครับ

 

เหล็กเคลือบกัลวาไนซ์คืออะไร ดีกว่าเหล็กทั่วไปอย่างไร

เหล็กเคลือบกัลวาไนซ์คืออะไร ดีกว่าเหล็กทั่วไปอย่างไร

ในงานโครงสร้างต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น อาคาร บ้านเรือน ในปัจจุบันล้วนแล้วแต่ต้องใช้โครงสร้างที่ทำจากเหล็กแทบทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็นโครงเหล็ก โครงหลังคา หรือโครงสร้างที่ต้องการความแข็งแรงล้วนแต่มีเหล็กเข้ามาเกี่ยวข้อง ซึ่งสิ่งที่จะตามมาหลังจากใช้โครงสร้างเหล็กคือ สนิม ดังนั้นการใช้เหล็กเคลือบกัลวาไนซ์จึงเป็นหนึ่งวิธีที่ช่วยลดการเกิดสนิม และเพิ่มอายุการใช้งานของโครงสร้างนั้น ๆ มากขึ้นหลายเท่าตัว

เหล็กเคลือบกัลวาไนซ์คืออะไรและกันสนิมได้อย่างไร

อย่างที่ทราบดีว่าโครงสร้างเหล็กเมื่อใช้ไปนาน ๆ ตามอายุการใช้งานจะมีการเกิดสนิมขึ้นอย่างแน่นอน โดยเฉพาะโครงสร้างที่มีความเสี่ยงในการโดนน้ำก็จะยิ่งมีโอกาสเกิดสนิมได้เร็วขึ้น ดังนั้นจึงมีการคิดค้นนวัตกรรมสำหรับป้องกันการเกิดสนิมขึ้นมาหลายต่อหลายอย่าง ซึ่งเหล็กเคลือบกัลวาไนซ์ก็เป็นหนึ่งในนั้น

เหล็กเคลือบกัลวาไนซ์คืออะไร ดีกว่าเหล็กทั่วไปอย่างไร

กระบวนการทำของเหล็กเคลือบกัลป์วาไนซ์คือ การนำเหล็กทั่วไปที่จะนำไปใช้งาน มาชุบเคลือบผิวนอกด้วยสังกะสีเหลว ซึ่งวิธีนี้เรียกว่า การชุบร้อนหรือ Hot – Dip Galvanized โดยจะเป็นการนำเหล็กไปผ่านขั้นตอน กำจัดคราบไขมัน , จุ่มน้ำ , จุ่มกรด , จุ่ม Flux , จุ่มสังกะสีหลอมเหลว และจุ่มน้ำ ตามลำดับ

โดยวิธีนี้จะช่วยให้เหล็กที่อยู่รอบนอกถูกเคลือบไปด้วยสังกะสี โดยชุด 1 ครั้งมากกว่า 100 ไมครอนขึ้นไป ซึ่งคุณสมบัติของสังกะสีโดยทั่วไปจะเป็นสนิมได้ยากกว่าเหล็กอยู่แล้ว เมื่อเหล็กจะมีการเกิดสนิมตัวกัลวาไนซ์ที่เคลือบอยู่จะเกิดสนิมก่อนเหล็ก ซึ่งทำให้เหล็กไม่ผุกร่อนและใช้งานได้ยืนยาวมากยิ่งขึ้น โดยทั่วไปแล้วอายุการใช้งานจะเพิ่มขึ้น 10 ถึง 20 ปี โดยไม่ต้องทาสีกันสนิมเลย

ข้อดีของการใช้เหล็กเคลือบกัลวาไนซ์

1. มีความคงทนใช้งานได้ยาวนานโดยเคลือบ 1 ครั้งสามารถยืดอายุการใช้งานมากถึง 10 ถึง 20 ปี
2. เนื่องจากเป็นการเคลือบตลอดตัวเหล็ก ทำให้ทุกส่วนของเหล็กมีความหนาของกัลวาไนซ์เท่า ๆ กัน ไม่ต้องมีความเสี่ยงว่า อันไหนที่เคลือบมากกว่าหรือน้อยกว่า
3. มองจากภายนอกแล้วดูสวยงาม เนื่องจากเป็นสีของสังกะสีทำให้มีการสะท้อนแสงและเงา ดูสวยงามโดยเฉพาะโครงสร้างที่อยู่ในร่มและมองเห็นได้

เหล็กเคลือบกัลวาไนซ์คืออะไร ดีกว่าเหล็กทั่วไปอย่างไร

 

ข้อสังเกตที่ต้องรู้ก่อนเลือกใช้ เหล็กเคลือบกัลวาไนซ์

1. เนื่องจากงานเหล็กเคลือบกัลวาไนซ์ เป็นการเคลือบตลอดทั้งตัวเหล็ก ทำให้ไม่เหมาะกับงานที่จะต้องมีการตัดเหล็ก เจาะเหล็ก หรือเชื่อมเหล็กเยอะ ๆ เพราะเมื่อตัดหรือเจาะส่วนที่ตัดออกไป ก็จะเผยให้เห็นตัวเนื้อเหล็กซึ่งบริเวณนั้นไม่ได้มีการเคลือบกัลวาไนซ์ ทำให้หน้าตักที่โดนตัดตรงนั้นอาจเกิดสนิมขึ้นเร็วกว่าส่วนอื่น ซึ่งปกติแล้วจะเป็นบริเวณข้อต่อด้วยทำให้มีโอกาสสึกหรอได้มากขึ้น

2. เนื่องจากตัวกัลป์วาไนซ์หากโดนความร้อนสูงหรือมีการเชื่อม ไอที่ออกมาจากกันวันไหนจะเป็นพิษต่อร่างกาย ทำให้ตัวช่างหรือคนที่ทำงานหน้างานมีโอกาสเกิดอันตรายขึ้นได้ นอกจากนี้หากมีการเชื่อมก็จะทำให้คุณสมบัติของกัลวาไนซ์ หายไปเช่นกัน

ดังนั้นเพื่อป้องกันปัญหานี้ ควรที่จะทำงานแบบมีการเชื่อมหรือจำเป็นต้องใช้การเชื่อมจริง ๆ ก็ให้เตรียมการป้องกันแก๊สพิษเอาไว้ให้ดี เมื่อเชื่อมเสร็จแล้วก็หากัลวาไนซ์แบบกระป๋องมาทาทับหรืออาจใช้สีกันสนิมมาทาทับรอยเชื่อมก็ได้

จากข้อสังเกต 2 ข้อที่ผ่านมาจึงสรุปได้ว่า จุดเด่นของกัลป์วาไนซ์คือ เรื่องความแข็งแรง ความทนทาน อายุการใช้งาน มีจุดอ่อนที่งานช่างที่ซับซ้อน ดังนั้นจึงเหมาะกับงานประเภทที่ต้องมีการทำโครงสร้างมาก่อนจากโรงงาน และทำการระบุให้กับโรงงานว่า เมื่อขึ้นโครงเสร็จแล้วให้นำโครงไปชุบกัลวาไนซ์ทีหลัง หรือตระเตรียมเหล็กแต่ละส่วนตามแบบแปลนให้เรียบร้อยก่อนจะชุบไม่ว่าจะเป็นการตัดการเจาะรูเพื่อขันนอตก็ตาม จากนั้นก็ใช้ตัวนอตที่เชื่อมกัลวาไนซ์เช่นกัน ในการก่อสร้างแบบนี้ตัวเล็กก็จะไม่มีปัญหาเรื่องรอยต่อหรือรอยสักอย่างที่กล่าวมาข้างต้น

เหล็กเคลือบกัลวาไนซ์คืออะไร ดีกว่าเหล็กทั่วไปอย่างไร

 

โดยสรุปแล้วเหล็กเคลือบกัลวาไนซ์ถือเป็นหนึ่งตัวเลือกที่ดีมากสำหรับใครก็ตามที่ต้องการจะใช้งานโครงสร้างเหล็ก และต้องการจะป้องกันสนิมในระยะยาวเพื่อยืดอายุการใช้งานตั้งแต่ 10 ปีขึ้นไป โดยเหล็กเคลือบกัลวาไนซ์เหมาะกับงานประเภทโครงสร้างสำเร็จรูป ที่มีการออกแบบและขึ้นรูปมาตั้งแต่ที่โรงงานแล้ว

ข้อแนะนำ งานโครงสร้างเหล็กเคลือบกัลวาไนซ์ จะเหมาะมากกับสิ่งปลูกสร้างที่อยู่ใกล้กับชายทะเล เนื่องจากเหล็กที่อยู่ใกล้กับชายทะเลหากเป็นสนิมขึ้นแม้แต่นิดเดียว ตัวสนิมจะลามเร็วมาก ดังนั้นจึงเหมาะกับการใช้เหล็กเคลือบกัลป์วาไนซ์
มากกว่าการใช้สีกันสนิมแบบทั่ว ๆ ไป เพราะสามารถยืดอายุการใช้งานได้ถึง 10 ปี แต่ทั้งนี้ ก็ขึ้นอยู่กับความชอบและรสนิยมของเจ้าของบ้านเช่นกัน

3 วิธีแก้ปัญหาบ้านทรุดเป็นโพรง

3 วิธีแก้ปัญหาบ้านทรุดเป็นโพรง

คุณเคยเจอปัญหาหรือเคยเจอบ้านหลังไหนที่มีปัญหาบ้านทรุดใต้ตัวบ้านเป็นโพรงไหมครับ บ้านบางหลังทรุดน้อยหน่อยก็เป็นโพรงไม่มาก แต่บ้านบางหลังพื้นดินทรุดตัวมากก็มีโอกาสเป็นโพรงมากกว่า 10 cm. ก็มี ซึ่งปัญหาตัวบ้านทรุดเป็นโพรงมักเกิดขึ้นบ่อยมาก กับดินบริเวณภาคกลาง เนื่องจากตัวพื้นดินเป็นที่ราบลุ่มกับเก็บน้ำ ทำให้มีโอกาสทรุดตัวได้ง่ายมาก ดังนั้นจะแก้ไขหรือป้องกันปัญหานี้ได้อย่างไรบ้างวันนี้มีคำตอบ

3 วิธีแก้ปัญหาบ้านทรุดเป็นโพรง

สาเหตุของปัญหาบ้านทรุดเป็นโพรง

ในปัจจุบันนี้โดยทั่วไปเวลาสร้างบ้านมักนิยมสร้างบ้านให้ตัวบ้านยกสูงขึ้นจากพื้น อาจยกสูงขึ้นครึ่งเมตรบ้าง 1 เมตรบ้าง แล้วแต่การออกแบบ โดยช่วงแรกหลังจากที่สร้างเสร็จใหม่ๆก็ไม่ได้มีปัญหาอะไรเกิดขึ้น แต่พอผ่านไป 1-2 ปีเจ้าของบ้านหลายท่านน่าจะเคยเห็นปัญหา ว่าพื้นดินบริเวณตัวบ้านมีการทรุดตัวลงไปทำให้มองเห็นเป็นโพรงเข้าไปข้างใต้บ้าน

เมื่อเกิดปัญหาบ้านทรุดจนเป็นโพรงที่มีขนาดใหญ่แบบนี้ หนึ่งในปัญหาที่ค่อนข้างใหญ่และมักจะตามมาเลยคือ สัตว์เลื้อยคลานต่าง ๆ มีโอกาสที่จะเข้าไปทำรังหรืออยู่อาศัยใต้บ้าน ไม่ว่าจะเป็นงูหรือตัวเงินตัวทอง

โดยสาเหตุหลัก ๆ ก็จะมาจากสภาพแวดล้อมในบริเวณที่บ้านตั้งอยู่ ในบางพื้นที่โดยเฉพาะภาคกลางมีโอกาสที่ 1 ปีดินจะทรุดตัวลงไปมากกว่า 10 เซนติเมตร แม้ตอนเริ่มต้นจะมีการออกแบบท้องคานให้จมลงไปในดิน 10-20 cm แล้วก็แล้วแต่ หากใช้งานไปนาน ๆ 2-3 ปีขึ้นไปก็มีโอกาสที่แผ่นดินจะทรุดมากกว่าท้องคานที่จมอยู่ในดิน ทำให้เห็นเป็นร่องเป็นโพรง อย่างไรก็ดีคุณไม่จำเป็นต้องกังวลในเรื่องของการทรุดหรือพังของตัวบ้าน เนื่องจากสิ่งที่ทรุดลงไปเป็นแค่ดินเท่านั้น หากบ้านตั้งอยู่บนเสาเข็มบ้านจะยังคงแข็งแรงไม่ทรุดตัวตามพื้นดิน

หลังจากทราบสาเหตุแล้วเรามาดูกันดีกว่าว่าจะแก้ปัญหาได้อย่างไรบ้าง

3 วิธีแก้ปัญหาบ้านทรุดเป็นโพรง

3 วิธีแก้ปัญหาบ้านทรุดเป็นโพรง

1. ถมหน้าดิน เพื่อปรับพื้นผิว
วิธีแรกเป็นวิธีแก้ปัญหาที่ง่ายและรวดเร็ว แต่อาจต้องแก้ปัญหาซ้ำ ๆ ทุก 2-3 ปี ซึ่งวิธีการก็ง่ายนิดเดียวครับ เพียงแค่คุณนำดินมาถมเข้าไปในช่องว่างที่เกิดการทรุดตัว จากนั้นก็อาจจะปรับหน้าดินให้สวยงามก่อนจะปลูกหญ้าหรือลงหญ้าเทียมหรือปรับทัศนียภาพตามต้องการ

ข้อดีคือประหยัดค่าใช้จ่ายและใช้เวลาไม่นาน แต่ข้อเสียของวิธีนี้คือจะคงอยู่ไม่นานและต้องมาทำซ้ำทุกครั้งที่บ้านทรุดและเป็นโครงอีก ซึ่งก็มักเกิดขึ้นในช่วง 2-3 ปีหลังจากที่ทำ

3 วิธีแก้ปัญหาบ้านทรุดเป็นโพรง

2. ทำคานคอดิน
การทำคานดินจะเป็นการแก้ปัญหาที่ค่อนข้างถาวร แต่แน่นอนก็ต้องแลกมาด้วยการทำงานที่ค่อนข้างใหญ่ ใช้งบประมาณที่เยอะ

โดยวิธีการคือจะให้ช่างเข้ามาทำการขุดพื้นที่โดยรอบบ้านลงไป ซึ่งโดยทั่วไปจะขุดลึกประมาณ 50-60 เซนติเมตรเผื่อการทรุดตัวในอนาคตด้วย เมื่อทำการรื้อพื้นที่เสร็จแล้วก็ทำการปูคานยึดระหว่างเสาตอหม้อแต่ละต้นที่อยู่ใต้ดิน โดยทำการก่อคานแบบนี้เชื่อมต่อกันกับเสาทุกต้น เมื่อได้คานปูนตัวใหม่ขึ้นมาแล้ว ก็ก่ออิฐจากตัวคานใหม่ขึ้นมาชนคานเก่าของตัวบ้าน จากนั้นค่อยปรับแต่งทัศนียภาพโดยรอบของตัวบ้านอีกครั้ง

วิธีนี้เป็นวิธีที่ได้ผลในระยะยาว คงทน แข็งแรง แต่ก็แลกมาด้วยงบประมาณที่ค่อนข้างสูงและใช้เวลาค่อนข้างนาน แต่ถ้าเกิดว่าคุณยังไม่ได้สร้างบ้านมีแค่แบบแปลนบ้านอยู่ ก็แนะนำว่าให้ดูแบบแปลนเลยว่าตัวคานถึงเสาตอม่อขุดลงไปลึกแค่ไหน ถ้าไม่ลึกมากแค่ 20-30 เซนติเมตร ก็ให้ใช้วิธีด้านบนคือ ก่อคานลงไปลึก 50-60 cm ก่อนจะทำคานขึ้นมาที่ตัวบ้านตั้งแต่แรก ก็จะหมดปัญหาบ้านทรุดจนเป็นโพรงแล้ว

3 วิธีแก้ปัญหาบ้านทรุดเป็นโพรง

3. หาอะไรมาวางปิดไว้
วิธีนี้เป็นวิธีแก้ที่ง่ายที่สุดเร็วที่สุดและเปลืองงบประมาณน้อยที่สุด โดยอาจใช้วิธีการปลูกต้นไม้บังบริเวณนั้นไว้เพื่อไม่ให้เรามองเห็น หรืออาจนำอิฐมาวางปิดบริเวณนั้นไว้แล้วปูดินรอบ ๆ เพื่อปลูกต้นไม้ก็เป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่ดี ซึ่งวิธีนี้ก็พบได้บ่อยตามบ้านจัดสรรที่สร้างมานานแล้ว และเจ้าของบ้านไม่อยากจะวุ่นวายกับการทำงานของช่าง แต่วิธีนี้ก็มีข้อเสียที่ บริเวณใต้บ้านยังคงทรุดตัวอยู่เหมือนเดิม ก็มีโอกาสที่สัตว์จะเข้าไปทำรังหรืออยู่อาศัยและมีโอกาสที่น้ำจะเข้าไปขังใต้ตัวบ้านอยู่ดี

ทั้งหมดนี้คือวิธีการในการแก้ปัญหาพื้นทรุดตัวจนเห็นเป็นโพรงใต้บ้าน แต่ละวิธีก็มีข้อดีข้อเสียแตกต่างกัน คุณสามารถนำวิธีเหล่านี้ไปปรับใช้กับบ้านของคุณตามแต่ความเหมาะสม ความต้องการ และงบประมาณของคุณได้เลยครับ

หากคุณยังมีข้อสงสัยหรือต้องการหาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการสร้างบ้านหรืออุปกรณ์เกี่ยวกับบ้านทั้งหลายสามารถดูข้อมูลเพิ่มเติมจากบทความคนอื่นในเว็บไซต์ของเราได้เลยครับ สุดท้ายหวังว่าบทความนี้จะมีประโยชน์และช่วยให้คุณทราบข้อมูลและวิธีแก้ปัญหาบ้านเกิดโพรงจากการที่ดินทรุดตัว

 

น้ำประปาสกปรก แก้ปัญหายังไงดี

น้ำประปาสกปรก แก้ปัญหายังไงดี

น้ำประปาสกปรก แก้ปัญหายังไงดี

น้ำถือว่าเป็นหนึ่งปัจจัยสำคัญในการดำรงชีวิตของมนุษย์ทุกคน นั่นทำให้ปัญหาน้ำประปาสกปรก ไม่สะอาด กลายเป็นหนึ่งในปัญหาใหญ่ของบ้านที่ทุกคนจำเป็นจะต้องใส่ใจ โดยปัญหาน้ำประปาสกปรกนั้นเกิดมาได้จากหลายสาเหตุ วันนี้ผู้เขียนจึงนำ 5 สาเหตุของการเกิดน้ำประปาสกปรกไม่สะอาด พร้อมทั้งวิธีแก้ไขของแต่ละวิธีมาฝากทุกท่านครับ

5 สาเหตุของการเกิดน้ำประปาสกปรก พร้อมวิธีแก้ปัญหา

1. ตรวจสอบตั้งแต่ต้นตอ
วิธีนี้คือการตรวจสอบน้ำประปาของคุณและเพื่อนบ้าน ว่าตอนนี้น้ำประปาของเพื่อนบ้านสกปรกเหมือนบ้านคุณหรือเปล่า ถ้าหากว่าเพื่อนบ้านไม่สกปรกแต่น้ำประปาบ้านสกปรก นั่นก็แปลว่าปัญหาเกิดขึ้นในตัวบ้านของคุณ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องแท็งก์ ท่อ หรือเรื่องอื่น ๆ

น้ำประปาสกปรก แก้ปัญหายังไงดี

แต่หากเพื่อนบ้านก็มีน้ำประปาสกปรกไม่สะอาดเหมือนกับบ้านของคุณ สิ่งที่ควรทำคือปรึกษากับหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้อง ซึ่งก็คือหน่วยงาน การประปาส่วนภูมิภาค โดยการแจ้งเรื่องร้องทุกข์ ให้ทางหน่วยงานเข้ามาดูแลและปรับปรุงการทำงานของระบบน้ำประปาในบริเวณบ้านของคุณ หรือติดตั้งเครื่องกรองน้ำต่อไป

แต่หากตรวจสอบทั้งหมดแล้วปรากฏว่าปัญหามาจากบ้านของคุณก็จะนำไปสู่สาเหตุและวิธีการแก้ปัญหาในข้อถัด ๆ ไป

2. อายุการใช้งานของท่อน้ำภายในบ้าน
ข้อนี้เป็นหนึ่งในสาเหตุที่พบได้บ่อยจากบ้านที่ปลูกมานาน โดยตัวบ้านใช้ท่อแบบ “เนื้อเหล็กอาบสังกะสี” วัสดุชนิดนี้เมื่อถูกผลิตและใช้งานมาเป็นเวลานาน ส่งผ่านน้ำติดต่อกันเป็นเวลานาน จะทำให้มีโอกาสเกิดสนิมได้ง่าย เมื่อเกิดสนิมแล้วคราบสนิมก็อาจจะหลุดร่อนมาตามกระแสน้ำ ทำให้กลายเป็นคราบสกปรกที่ไหลออกมาตอนที่คุณเปิดน้ำ

วิธีการแก้ไขอาจจำเป็นจะต้องรื้อและติดตั้งใหม่ทั้งหมด โดยแนะนำให้เปลี่ยนมาใช้ท่อแบบ PVC ในปัจจุบัน เนื่องจากมีลักษณะคงทน อายุการใช้งานค่อนข้างนาน และไม่เกิดสนิมในระยะยาว

น้ำประปาสกปรก แก้ปัญหายังไงดี

3. ปัญหาจากการแตกรั่วของท่อ
หากคุณทำการเช็คแล้วว่าบ้านของคุณใช้ท่อน้ำแบบ PVC จึงไม่ต้องกังวลเรื่องคราบสนิม ก็มีโอกาสเป็นไปได้ที่บางส่วนหรือบางจุดของท่อจะเกิดรอยแตกหรือรอยร้าวส่งผลให้มีสิ่งปนเปื้อนจากภายนอกไม่ว่าจะเป็นฝุ่น เศษหิน เศษดินทราย ไหลปนเปื้อนเข้ามากับตัวน้ำผ่านทางรอยรั่วนั้น ๆ

โดยวิธีแก้ที่ง่ายและรวดเร็วคือการใช้เทปดำสำหรับงานช่างมาพันท่อน้ำเอาไว้ เพื่อบรรเทาปัญหาที่เกิดจากท่อแตกหรือร้าว แต่หากมีเวลาและงบประมาณ แนะนำให้ทำการเปลี่ยนท่อบริเวณนั้นโดยการปิดวาล์วน้ำแล้วถอดท่อออกจากข้อต่อแล้วเปลี่ยนท่อใหม่เข้าไป ซึ่งวิธีนี้แม้จะเปลืองเวลาและอาจจะต้องจ้างช่างมาช่วยทำ แต่ก็จะแก้ปัญหาได้ในระยะยาว

น้ำประปาสกปรก แก้ปัญหายังไงดี

4. ไส้กรองหมดอายุหรือใช้งานเป็นเวลานานจนเสื่อมประสิทธิภาพ
ปัญหานี้มักเกิดกับบ้านที่ติดตั้งเครื่องกรองหยาบไว้นอกตัวบ้าน โดยเครื่องกรองหยาบจะมีลักษณะคล้ายแท็งก์ขนาดไม่ใหญ่มากติดตั้งอยู่นอกตัวบ้าน ทำงานด้วยกันปล่อยให้น้ำไหลผ่านไส้กรอง โดยทำการกรองฝุ่นกรองสิ่งปนเปื้อนเหลือแต่น้ำใสสะอาดออกมาให้กลับบ้าน แต่บางครั้งบ้านที่ใช้งานไส้กรองแบบนี้ก็อาจจะลืมเปลี่ยนไส้กรองในแต่ละอายุการใช้งาน จึงทำให้ประสิทธิภาพในการกรองน้ำลดลง แล้วปล่อยให้สิ่งปนเปื้อนไหลติดมากับน้ำได้

วิธีแก้คือทำการซื้อไส้กรองใหม่ จากนั้นก็ห้ามลืมเปลี่ยนไส้กรองทุกครั้งที่ไส้กรองหมดอายุ

5. แท็งก์น้ำสกปรก ไม่ได้ทำความสะอาดเป็นเวลานาน
สำหรับหลาย ๆ บ้านก็อาจจะไม่ได้ใช้น้ำจากน้ำประปาโดยตรง แต่ใช้วิธีการเปิดน้ำประปาใส่แท็งก์น้ำเอาไว้เพื่อกักเก็บไว้ใช้ แต่บ้านที่ใช้วิธีนี้ก็มักจะเจอหนึ่งปัญหาที่คล้ายกันคือ เมื่อใช้งานแท็งก์น้ำไปนาน ๆ แล้วลืมทำความสะอาด ทำให้สิ่งปนเปื้อนที่มากับน้ำประปาแม้จะมีไม่มาก แต่ก็สะสมรวมกันนอนอยู่ที่ก้นแท็งก์ เมื่อผ่านไปนาน ๆ สิ่งสกปรกเหล่านั้นก็มีโอกาสที่จะปนเปื้อนมากับน้ำมาสู่ก๊อกน้ำบ้านของคุณ

และทั้งหมดนี้คือ 5 สาเหตุของการเกิดน้ำประปาไม่สะอาด สกปรก พร้อมกับวิธีแก้ไขของแต่ละวิธี ลองนำทั้ง 5 ข้อไปตรวจสอบกับตัวบ้านของคุณตามขั้นตอนตั้งแต่ข้อ 1 ดูนะครับ แต่หากบ้านของใครเป็นบ้านที่น้ำประปาสกปรกเพราะน้ำจากการประปาบริเวณนั้นคุณภาพไม่ดีอยู่แล้ว สามารถเลือกดูสินค้าในหมวดถังเก็บน้ำในเว็บไซต์ของเราได้เลยนะครับ

ฉนวนกันความร้อนในบ้านควรเลือกแบบไหนดี

ฉนวนกันความร้อนในบ้านควรเลือกแบบไหนดี

หนึ่งในปัญหาหลักที่มักจะเกิดขึ้นหลังจากที่เจ้าของบ้านย้ายเข้าไปอยู่อาศัยในตัวบ้านแล้วมีด้วยกันหลัก ๆ 2 ปัญหา ปัญหาความร้อนภายในบ้าน แล้วปัญหาเสียง โดยในบทความนี้ผมจะมาพูดถึงวิธีการแก้ปัญหาปัญหาความร้อนของตัวบ้าน ด้วยการใช้ฉนวนกันความร้อนนั่นเอง

ฉนวนกันความร้อนในบ้านควรเลือกแบบไหนดี

ปัญหาความร้อนในบ้านส่งผลอย่างไร

อย่างที่ทราบกันดีว่าปัญหาความร้อนภายในตัวบ้านไม่ได้เป็นปัญหาเรื่องความร้อนอย่างเดียว แต่รวมถึงสุขภาพจิตสภาพอารมณ์และสุขภาพกายของตัวผู้อยู่อาศัยด้วยเช่นกัน

ปัญหาด้านสุขภาพร่างกาย
ปัญหาที่มักเกิดขึ้นกับเจ้าของบ้านที่ตัวบ้านร้อนเกินไป ในกรณีที่ทำงานอยู่ที่บ้าน หรือไม่ได้ออกไปไหนในเวลากลางวัน ตัวบ้านร้อนเกินไปก็มีโอกาสเกิดการเป็นลมได้ หรือหากตอนกลางคืนแล้วตัวบ้านยังคงกักเก็บความร้อนเอาไว้อยู่ ก็จะทำให้ผู้อยู่อาศัยพักผ่อนไม่เพียงพอ นอนหลับไม่สนิท ส่งผลต่อสุขภาพในระยะยาว

ปัญหาค่าใช้จ่ายเกินจำเป็น
แม้ปัจจุบันบ้านจะติดเครื่องปรับอากาศเพื่อทำความเย็นแล้วก็ตาม แต่หากตัวบ้านกักเก็บความร้อนไว้ได้ดีและถ่ายเทความร้อนได้ไม่ดี ก็มีโอกาสที่เครื่องใช้ไฟฟ้าจะทำงานหนัก ส่งผลให้สูญเสียค่าไฟฟ้ามากเกินความจำเป็น

ทั้งหมดนี้คือผลเสียที่จะเกิดขึ้นได้ แค่เพียงมีปัญหาเล็ก ๆ อย่างบ้านร้อนเกินไป ดังนั้นเรามาดูกันดีกว่าว่าฉนวนกันความร้อนสำหรับตัวบ้านที่ดีควรมีลักษณะอย่างไรบ้าง

 

4 คุณสมบัติของฉนวนกันความร้อนที่ดี

ฉนวนกันความร้อนในบ้านควรเลือกแบบไหนดี

1. คุณสมบัติการทนไฟ
คุณสมบัติการทนไฟคือคุณสมบัติที่ตัวฉนวนจะสามารถทนต่อเปลวไฟได้เป็นอย่างดี เมื่อโดนไฟแล้วไม่ระเหยออกมาเป็นแก๊สพิษ ด้วยคุณสมบัตินี้มีความจำเป็นอย่างมาก แต่หลายคนอาจจะมองข้ามเพราะรู้สึกว่าบ้านของฉันคงไม่เกิดไฟไหม้หรอก แต่อย่าลืมนะครับเราซื้อร่มเราไม่อยากให้ฝนตก เรามีฉนวนทนไฟไม่ได้แปลว่าไม่อยากให้เกิดไฟไหม้ เพียงแต่หากเกิดเรื่องไม่คาดฝันขึ้นมาสิ่งเหล่านี้แหละที่จะเป็นตัวช่วยยืดเวลา ให้เราสามารถเข้าไปช่วยชีวิตของคนที่เรารักได้ทันเวลา

2. คุณสมบัติกันความร้อน
แน่นอนว่าพูดถึงฉนวนกันความร้อนสำหรับตัวบ้านจะไม่พูดถึงคุณสมบัติกันความร้อนก็คงไม่ได้ ด้วยคุณสมบัติกันความร้อนที่ดีจะต้องสามารถกันความร้อนได้สูง โดยทั่วไปจำนวนที่มีคุณภาพจะป้องกันความร้อนได้ถึง 400 – 600 องศาเป็นต้นไป และยังต้องทนทานสามารถใช้งานได้นานและมีความเสถียรในการกันความร้อนได้เป็นอย่างดี เมื่อนำไปปูบนชั้นหลังคาหรือปูที่กำแพงก็สบายใจได้เลยว่าความร้อนจากภายนอกจะไม่ทะลุเข้ามาภายในอย่างแน่นอน

ฉนวนกันความร้อนในบ้านควรเลือกแบบไหนดี

3. ความคงทนและอายุการใช้งาน
คุณสมบัติความทนทานจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องเป็นคุณสมบัติหลักที่ควรพิจารณา โดยฉนวนที่มีความทนทานสูงอายุการใช้งานยาวนานหลัก ๆ จะมีด้วยกัน 2 ชนิด คือ ฉนวนใยแก้ว และฉนวนใยหิน หากใช้ในงานทั่วไปไม่ว่าจะเป็นงานอาคารหรือบ้านเรือนที่ไม่ได้ต้องเจอความร้อนสูงมากนัก เจอเพียงความร้อนจากแดดธรรมชาติ ก็มีอายุการใช้งานตั้งแต่ 5 – 10 ปี ขึ้นไป

ฉนวนกันความร้อนในบ้านควรเลือกแบบไหนดี

4. คุณสมบัติการกันน้ำ
เรื่องคุณสมบัติด้านน้ำและความชื้นก็เป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่จะต้องดูให้ดี เพราะแม้ฉนวนนั้นจะป้องกันความร้อนได้เป็นอย่างดี แต่กลับสะสมความชื้นและไอน้ำไว้กับตัวเองมาก ๆ นั่นก็แปลว่าอะไร ชั้นนั้นก็อาจจะเกิดเชื้อราขึ้นได้ และส่งผลเสียมากกว่าผลดีในระยะยาว ดังนั้นฉนวนที่มีคุณสมบัติกันน้ำกันความชื้นจึงมีความจำเป็น

ทั้ง 4 ข้อนี้คือคุณสมบัติสำคัญที่ไม่ควรมองข้ามถ้าจะมองหาฉนวนกันความร้อนในตัวบ้าน อย่างไรก็ดีทั้งหมดนี้ก็ขึ้นอยู่กับความต้องการ รสนิยม และงบประมาณของแต่ละท่านด้วยเช่นกัน

คลิกติดต่อสั่งซื้อสินค้า

สินค้าแนะนำ

อยากเปลี่ยนหลังคาบ้านใหม่ต้องรู้อะไรบ้าง

อยากเปลี่ยนหลังคาบ้านใหม่ต้องรู้อะไรบ้าง

อยากเปลี่ยนหลังคาบ้านใหม่ต้องรู้อะไรบ้าง

เวลาที่เราพักอาศัยคืออยู่ในบ้านหลังเดิมไปนาน ๆ เชื่อว่าหลายท่านน่าจะมีความคิดที่อยากจะรีโนเวทหรือปรับปรุงบ้านให้เป็นแบบรสนิยมที่ท่านต้องการในปัจจุบัน ซึ่งอาจจะแตกต่างไปจากรสนิยมในอดีตที่เคยชอบตอนที่สร้างบ้านใหม่ ๆ ซึ่งบ้านแต่ละส่วนก็มักจะมีจุดสังเกตหรือข้อควรระวังที่แตกต่างกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการรีโนเวทหรือการเปลี่ยนหลังคาบ้านซึ่งเป็นหนึ่งในส่วนที่ใหญ่ที่สุดของตัวบ้าง ย่อมต้องเป็นจุดที่มีข้อควรระวังและข้อควรรู้ก่อนทำการเปลี่ยนหรือรีโนเวทมากเป็นพิเศษเช่นกัน บทความนี้จึงอยากจะมาให้ข้อมูลในสิ่งที่ท่านควรรู้ก่อนตัดสินใจเปลี่ยนหลังคาหรือรีโนเวทหลังคาใหม่

สิ่งที่ต้องรู้และระวังหากต้องการเปลี่ยนหลังคา

สิ่งแรกที่ท่านต้องรู้คือท่านต้องการจะทำอะไรกันแน่ระหว่างเปลี่ยนหลังคาหรือเปลี่ยนทรงหลังคา เพราะสิ่งสำคัญที่ต้องคำนึงถึงเกี่ยวกับหลังคามีด้วยกัน 2 ส่วนหลัก ๆ คือน้ำหนักและระยะแปของหลังคา
หากท่านต้องการเปลี่ยนตัวหลังคาไม่ว่าจะเป็นเปลี่ยนกระเบื้องใหม่เปลี่ยนสีหรือเปลี่ยนแบบ แต่ไม่ได้ต้องการเปลี่ยนทรงหลังคา หลังคายังคงเป็นทรงเดิม ระยะแปเท่าเดิม น้ำหนักใกล้เคียงของเดิม ตรงนี้ท่านสามารถปรึกษากับช่างและบริษัทผู้ผลิตสามารถเปลี่ยนได้เลยทันที เพราะการเปลี่ยนแบบนี้ไม่จำเป็นจะต้องรื้อหลังคาออกมาทั้งหมด

อยากเปลี่ยนหลังคาบ้านใหม่ต้องรู้อะไรบ้าง

แต่หากท่านต้องการที่จะเปลี่ยนทรงหลังคาไปเลย ท่านจำเป็นจะต้องรื้อหลังคาเก่าออกก่อนจากนั้นก็ทำการขึ้นโครงแล้วมุงหลังคาใหม่ ซึ่งหากเป็นวิธีนี้ท่านจำเป็นจะต้องปรึกษากับช่างหรือวิศวกรที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญในด้านนี้โดยเฉพาะ แต่ในบทความนี้เราจะไม่ได้มาพูดถึงการเปลี่ยนหลังคาใหม่ทั้งหมด แต่จะมาพูดถึงการเปลี่ยนแค่ตัวหลังคามันจะเปลี่ยนทรงหลังคาเลย

ในการเปลี่ยนตัวหลังคาก็จะมีจุดประสงค์หลัก ๆ ด้วยกันทั้งหมด 2 จุดประสงค์ จุดประสงค์แรกคือต้องการเปลี่ยนเพราะหลังคาเก่ามันเก่าเกินไปอาจจะมีการรั่วซึมของน้ำทำให้ไม่สามารถอยู่อาศัยได้ และจุดประสงค์ที่ 2 คืออยากจะเปลี่ยนรสนิยมหรือเปลี่ยนรูปแบบหรือภาพลักษณ์ของตัวบ้าน โดยมีคำแนะนำหรือข้อควรระวังดังนี้

อยากเปลี่ยนหลังคาบ้านใหม่ต้องรู้อะไรบ้าง

1. การเปลี่ยนหลังคาเนื่องจากหลังคาเก่าสึกหรอและเก่าเกินไป

เมื่อใช้หลังคาไปซักระยะหนึ่งเจ้าของบ้านหลายท่านมักจะเจอปัญหาคล้ายกันคือ หลังคาที่เก่าแล้วไม่สามารถใช้งานได้อีกต่อไป อาจมีการหลุดร่อนแตกหักตามอายุการใช้งาน หรือมีการรั่วซึมของน้ำทำให้ฝ้าเพดานเกิดความเสียหายและอาจทะลุได้ในอนาคต

หากปัญหาของท่านเป็นการเปลี่ยนด้วยจุดประสงค์นี้ข้อแนะนำคือการนำหลังคา Metal Sheet มาปูทับหลังคาเดิมโดยที่ไม่จำเป็นจะต้องรื้อหรือเปลี่ยนหลังคา วิธีนี้จะช่วยให้ท่านสามารถยังอยู่อาศัยในบ้านได้ในขณะที่ทำงาน ไม่เกิดความเสียหายกับหลังคาฝ้าเพดานและตัวบ้าน อีกทั้งยังเป็นวิธีที่รวดเร็วและประหยัดงบประมาณได้อย่างมาก

2. เปลี่ยนชนิดของหลังคาโดยที่ยังคงรักษาทรงหลังคาเดิมเอาไว้

อย่างที่แจ้งไปข้างต้นว่าการมุงหลังคา เมื่อต้องการเปลี่ยนสิ่งที่สำคัญและต้องคำนึงถึงคือน้ำหนักและระยะแป หากต้องการเปลี่ยนชนิดกระเบื้องหลังคาก็จำเป็นจะต้องคำนึงถึง 2 ส่วนนี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องของน้ำหนักหากน้ำหนักมากจนเกินไปก็ไม่สามารถรับรองได้ว่าโครงหลังคาเก่าจะสามารถรับน้ำหนักของกระเบื้องแผ่นใหม่ที่นำมามุงได้หรือเปล่า นอกจากนี้ยังมีปัญหาเรื่องระยะมุมของการลาดเอียงหลังคา เพราะกระเบื้องแต่ละชนิดก็มีระยะมุงในการมุงหลังคาที่แตกต่างกัน

อยากเปลี่ยนหลังคาบ้านใหม่ต้องรู้อะไรบ้าง

ยกตัวอย่าง เช่น หากต้องการเปลี่ยนหลังคาจากกระเบื้องโมเนียไปเป็นกระเบื้องลอนคู่

สิ่งแรกที่ต้องคำนึงถึงคือเรื่องน้ำหนัก ซึ่งตรงนี้กระเบื้องลอนคู่มีน้ำหนักที่เบากว่ากระเบื้องโมเนียจึงผ่านในข้อแรก
ข้อที่ 2 คือระยะแปของกระเบื้อง กระเบื้องโมเนียต้องการระยะแปเพียง 30 เซนติเมตรเท่านั้น กระเบื้องลอนคู่ต้องการระยะแปประมาณ 1 เมตรซึ่งตรงนี้สามารถใช้ได้
และข้อที่ 3 ระยะมุมในการมุงหลังคา กระเบื้องโมเนียต้องการระยะมุมมากถึง 30 องศาแต่กระเบื้องลอนคู่ต้องการเพียงแค่ 12 องศาเท่านั้น ซึ่งข้อนี้ก็ผ่านเช่นกัน

จะเห็นว่าในการเปลี่ยนหลังคาเป็นกระเบื้องแบบใหม่จำเป็นจะต้องคำนึงถึง 3 ส่วนนี้เป็นหลักและตัวอย่างนี้ก็เป็นเพียงแค่การยกตัวอย่างในแบบที่คำนวณง่าย ๆ เท่านั้นแต่หากต้องการจะเปลี่ยนจริง ๆ จำเป็นจะต้องปรึกษาผู้เชี่ยวชาญเพื่อไม่ให้เกิดความเสียหายขึ้นในอนาคต

อยากเปลี่ยนหลังคาบ้านใหม่ต้องรู้อะไรบ้าง

สุดท้ายสิ่งที่สำคัญที่สุดที่ท่านจำเป็นจะต้องคำนึงถึงคือ หลังคาเป็นองค์ประกอบที่ใหญ่ที่สุดของตัวบ้าน การเปลี่ยนหรือการปรับปรุงอะไรเกี่ยวกับหลังคาก็มีโอกาสจะกระทบส่วนอื่นของตัวบ้าน ดังนั้นจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องดูแลและควบคุมอย่างใกล้ชิดจากผู้ที่มีประสบการณ์และมีความรู้ความเชี่ยวชาญในด้านนี้โดยเฉพาะ สุดท้ายหวังว่าข้อมูลทั้งหมดจากบทความนี้จะเป็นประโยชน์กับเจ้าของบ้านทุกท่านที่ ต้องการรีโนเวทบ้านใหม่ให้เป็นสไตล์หรือรูปแบบที่ท่านต้องการในอนาคต

วิธีเลือกผนังกันเสียง ควรเลือกใช้อย่างไร ให้เหมาะกับบ้านของเรา

วิธีเลือกผนังกันเสียง ควรเลือกใช้อย่างไร ให้เหมาะกับบ้านของเรา

วิธีเลือกผนังกันเสียง ควรเลือกใช้อย่างไร ให้เหมาะกับบ้านของเรา

สำหรับที่อยู่อาศัยไม่ว่าจะเป็นบ้านหรือคอนโด ท่านก็ต้องคาดหวังการพักผ่อนที่ดีต่อทั้งสุขภาพกายและสุขภาพจิต แต่สิ่งนึงที่มักจะมีปัญหาและส่งผลต่อสุขภาพจิตคือ มลภาวะทางเสียง ด้วยปัญหานี้มักจะเกิดขึ้นกับบ้านหรือคอนโดที่มีการกั้นผนังที่ไม่สามารถกันเสียงได้ดี ดังนั้นในบทความนี้ผมจึงอยากจะมาแนะนำวิธีการเลือกใช้ผนังกันเสียง ให้สามารถกันเสียงได้จริงไม่ทำร้ายสุขภาพจิตของตัวท่านและผู้อยู่อาศัยคนอื่น

สิ่งที่ทุกคนน่าจะรู้กันอยู่แล้วคือ การที่เสียงจะทะลุผ่านห้องแต่ละห้องได้ ก็ขึ้นอยู่กับว่าผนังที่นำมากั้นห้องแต่ละห้องนั้นเป็นผนังชนิดใดและรูปแบบหรือวิธีการก่อเป็นแบบใด โดยหลัก ๆ แล้ว วัสดุที่มักนำมาใช้ก่อผนังก็จะมีด้วยกัน 2 อย่างคือ อิฐมวลเบาและอิฐมอญ หรือถ้าเป็นรูปแบบของผนังเบาก็จะเป็น โครงกัลวาไนซ์ 75 mm. กรุด้วยยิปซั่มหนา 12 mm. 2 ด้าน

วิธีเลือกผนังกันเสียง ควรเลือกใช้อย่างไร ให้เหมาะกับบ้านของเรา

มาตรฐานการกันเสียง STC

ก่อนจะพูดถึงความสามารถในการกันเสียงของวัสดุแต่ละชนิดว่ามีดีมีด้อยต่างกันอย่างไร ท่านจำเป็นต้องรู้จักกับหน่วยวัดค่าความสามารถในการกันเสียงก่อน โดยหน่วยวัดนั้นจะถูกเรียกว่า STC (Sound Transmission Class) ซึ่งเป็นค่ากลางในการกำหนดมาตรฐานการกันเสียงของวัสดุแต่ละชนิด โดยยิ่งค่า STC สูงยิ่งสามารถกันเสียงได้มาก สินค้า STC จะถูกกำหนดเป็นช่วงระยะ โดยระยะตั้งแต่ 40 ขึ้นไปจึงจะสามารถกันเสียงได้ในระดับการใช้งานปกติ

จากนั้นเรามาดูกันดีกว่าว่าวัสดุแต่ละชนิดมีค่า STC อยู่ที่เท่าไหร่
อย่างแรกคืออิฐมอญซึ่งเป็นที่นิยมกันมากจะมีค่า STC อยู่ที่ 44 ซึ่งถือว่าเป็นค่าที่อยู่ในระดับทั่วไปสามารถใช้งานได้ กันเสียงได้ในระดับปกติเหมาะกับห้องทั่วไปในการใช้ชีวิตประจำวัน

ต่อมาคือผนังอิฐมวลเบาจะมีค่า STC อยู่ที่ 38 และผนังยิปซั่มจะมีค่า STC อยู่ที่ 36 ต้องการกันเสียงที่ค่อนข้างน้อยกว่าอิฐมอญ โดยเฉพาะผนังยิปซั่มจะมีค่ากันเสียงที่น้อยมาก ๆ เรียกว่าข้างห้องทำอะไรก็ได้ยินไปหมด แต่ก็ไม่ใช่ว่าผนังหรือวัสดุที่มีค่า STC ต่ำจะไม่สามารถนำมาใช้ได้ เพราะเราสามารถนำฉนวนกันเสียงมาใช้ติดเข้าไปกับตัวผนังเพื่อให้ผนังสามารถกันเสียงได้ดียิ่งขึ้นได้

วิธีเลือกผนังกันเสียง ควรเลือกใช้อย่างไร ให้เหมาะกับบ้านของเรา

แล้วจะเลือกฉนวนกันเสียงอย่างไรให้มีประสิทธิภาพ?

ในการเลือกฉนวนกันเสียงจำเป็นจะต้องเลือกโดยอิงตามคุณสมบัติของตัวฉนวนนั้น ๆ โดยคุณสมบัติที่สำคัญที่สุดของฉนวนกันเสียงคือ ต้องเป็นฉนวนที่ไม่ติดไฟและไม่ลามไฟเด็ดขาด เพราะเป็นวัสดุสำหรับภายในบ้าน การกันไฟจึงเป็นคุณสมบัติที่สำคัญที่สุดเป็นอันดับ 1 นอกจากนี้ก็ควรเป็นสารอนินทรีย์ซึ่งจะทำให้ไม่มีปัญหาเรื่องความชื้นและเชื้อรา และที่สำคัญคือต้องไม่มีสาร CFC ไม่มีแร่ใยหินซึ่งเป็นอันตรายต่อสุขภาพ โดยฉนวนกันความร้อนโดยทั่วไปจะถูกผลิตออกมาเป็นแผ่นให้เหมาะกับการใช้งาน มีความหนาตั้งแต่ 50 mm. 70 mm. และ 100 mm.

เมื่อรู้คุณสมบัติของวัสดุแต่ละชนิดแล้ว รู้ว่าต้องเลือกฉนวนกันเสียงแบบไหน ก็มาดูที่ความสามารถในการกันเสียงเมื่อใช้ฉนวนกันเสียงร่วมกับวัสดุต่าง ๆ

วิธีเลือกผนังกันเสียง ควรเลือกใช้อย่างไร ให้เหมาะกับบ้านของเรา

1. ผนังเบาโครงกัลวาไนซ์ 75 mm. กรุด้วยยิปซั่มหนา 12 mm. 2 ด้าน
เมื่อนำผนังเบาซึ่งเป็นโครงยิปซั่มรวมเข้าไปกับแผ่นฉนวนกันเสียงที่มีความหนาตั้งแต่ 50 mm. ขึ้นไป จากเดิมที่กันเสียงได้แค่ 36 STC เพิ่มเป็น 42 STC ซึ่งการทำแบบนี้เป็นวิธีการที่แนะนำมากที่สุด เพราะเป็นงานแห้ง เสร็จงานเร็ว ติดตั้งง่าย สามารถทำเสร็จภายในเวลาแค่ไม่กี่ชั่วโมง

2. ผนังมวลเบา 2 ชั้น
การทำงานแบบนี้จะเป็นการใช้ผนังมวลเบาก่อขึ้นมา 2 ชั้น เว้นตรงกลางระหว่างทั้งสองข้างเอาไว้ให้มีความหนาประมาณ 50 mm. จากนั้นก็อุดตรงกลางด้วยฉนวนกันเสียงหนา 50 mm หากใช้วิธีนี้จากเดิมที่อิฐมวลเบามีค่าการกันเสียงอยู่แค่ 38 STC จะเพิ่มมาเป็น 68 STC ซึ่งเป็นการกั้นเสียงที่ดีเป็นอย่างมาก เหมาะกับใช้ในห้องประชุม หรือห้องนอนที่อยู่ใกล้กับถนนหรือใกล้กับบริเวณที่มีเสียงดังมาก ๆ หากใช้รูปแบบการติดตั้งแบบนี้ต่อให้ข้างนอกจะมีเสียงดังก็สามารถนอนหลับได้อย่างสบาย

3. การเบิ้ลผนัง
จะเป็นการแก้ปัญหาที่ค่อนข้างปลายเหตุ โดยผนังเดิมอาจก่อด้วยอิฐมวลเบาซึ่งกันเสียงได้ไม่ดีนัก วิธีนี้จะทำการตีโครงยิปซั่มขึ้นมาแนบติดเข้าไปกับตัวผนังเดิม ก่อนจะกรุยิปซั่มเข้าไป ให้กรุด้วยฉนวนกันความร้อนความหนา 50 mm. เข้าไปก่อน แล้วค่อยปิดยิปซั่ม 12 mm. ตามทีหลัง จะช่วยเพิ่มค่าการกันเสียงได้มากถึง 55 STC เท่านี้ก็สามารถใช้งานได้แล้ว

การแก้ปัญหาในรูปแบบการเบิ้ลผนัง เป็นการแก้ปัญหาที่เหมาะสำหรับเจ้าของคอนโดซื้อคอนโดไปแล้วมีปัญหาเสียงรบกวน เพราะไม่สามารถแก้ปัญหาที่ต้นเหตุด้วยการก่อผนังขึ้นมาใหม่ได้วิธีนี้จึงเหมาะเป็นอย่างยิ่ง

วิธีเลือกผนังกันเสียง ควรเลือกใช้อย่างไร ให้เหมาะกับบ้านของเรา

นอกจากนี้ในส่วนของการกั้นห้องเพิ่มสำหรับใครที่มีบ้านอยู่แล้ว ก็สามารถใช้ผนังแห้งหรือ Dry Wall รวมเข้ากับโครงยิปซั่มในข้อที่ 1 เลยก็ได้ เท่านี้ห้องใหม่ที่กั้นออกมาก็จะสามารถกันเสียงได้อย่างมีประสิทธิภาพ

สำหรับข้อมูลทั้งหมดในบทความนี้หวังว่าจะครบถ้วนชัดเจน ทั้งตัวเลขและการวัดผลต่างๆเพื่อให้ท่านสามารถนำไปประกอบการตัดสินใจในการ Renovate ต่อเติม หรือ แก้ปัญหาเสียงทะลุผนังได้นะครับ

หลังคาบ้านเลือกอย่างไรให้ได้มาตรฐานและมีคุณภาพ

หลังคาบ้านเลือกอย่างไรให้ได้มาตรฐานและมีคุณภาพ

หลังคาบ้านเลือกอย่างไรให้ได้มาตรฐานและมีคุณภาพ

ในการสร้างบ้านหรือที่อยู่อาศัยแต่ละครั้งแน่นอนว่าช่างหรือเจ้าของบ้านจะต้องใส่ใจในเรื่องของมาตรฐานการผลิตของวัสดุทุกชนิด โดยเฉพาะอย่างยิ่งวัสดุที่นำมาใช้ในการทำหลังคา เพราะหลังคาได้ชื่อว่าเป็นส่วนองค์ประกอบที่ใหญ่ที่สุดของตัวบ้าน หากเกิดปัญหาขึ้นกับหลังคาแล้วก็มีโอกาสทำให้ส่วนอื่นของบ้านเกิดปัญหาขึ้นตามมาเป็นลูกโซ่ได้เช่นกัน ในบทความนี้ผมจึงอยากนำข้อมูลเกี่ยวกับการเลือกหลังคาให้ได้คุณภาพและมาตรฐาน เพื่อให้มีอายุการใช้งานยาวนาน เลือกหลังคามาติดครั้งเดียวใช้ยาวไม่ต้องเปลี่ยนบ่อย ๆ ไม่ต้องเสียเงินเยอะ ๆ

มาตรฐานการผลิตของวัสดุมุงหลังคา

ที่หลายๆท่านน่าจะคุ้นหูคุ้นตากันอยู่แล้วนั่นคือ มอก. ซึ่งย่อมาจากมาตรฐานอุตสาหกรรม เป็นมาตรฐานเฉพาะประเทศไทยที่นิยมใช้กันอย่างมาก ซึ่งแน่นอนว่าหากวัสดุมุงหลังคาที่นำมาใช้ไม่ผ่าน มอก. ก็ไม่ควรจะนำมาใช้งานเด็ดขาด แต่นอกจากมาตรฐานของประเทศไทยแล้ว ทั่วโลกก็ยังมีมาตรฐานการผลิตอื่นๆที่เรียกว่าเป็นสากลและมีคุณภาพมากกว่า มอก. ไม่ว่าจะเป็น มาตรฐาน AS จากออสเตรเลีย มาตรฐาน ASTM จากอเมริกา หรือมาตรฐาน JIS จากฝั่งญี่ปุ่น

หลังคาบ้านเลือกอย่างไรให้ได้มาตรฐานและมีคุณภาพ

โดยมาตรฐานสากลเหล่านี้จะมีการตรวจสอบที่เข้มงวดและละเอียดมากกว่า มอก. ของประเทศไทย เนื่องจากเป็นมาตรฐานของพัสดุที่จะต้องส่งออกไปทั่วโลก ทำให้ต้องตรวจสอบคุณภาพเป็นอย่างสูงให้สามารถใช้งานได้กับสภาพอากาศแทบทุกทีบนโลก พูดง่าย ๆ ก็คือ ทนกว่า แข็งแรงกว่า ใช้งานได้ยาวนานกว่าและมั่นใจได้มากกว่า ว่าจะได้สินค้าดีมีคุณภาพ เพราะหลังคาคือที่สวนที่ต้องใช้งานอยู่ตลอดเวลา เกิดปัญหาแค่เพียงเล็กน้อยบนหลังคาก็มีโอกาสที่ปัญหานั้นจะส่งผลต่อส่วนอื่นของบ้านได้อย่างง่ายๆ ด้วยเหตุนี้การดูเรื่องมาตรฐานการผลิตของวัสดุจึงเป็นสิ่งสำคัญที่คุณจะต้องใส่ใจเป็นอย่างมาก

หลังคาที่ไม่ได้มาตรฐานก่อให้เกิดปัญหาอะไรกับบ้านของเราบ้าง

1. ถ้าการผลิตขึ้นรูปลอนไม่ได้มาตรฐาน
โดยปัญหานี้เกิดจากเครื่องมือหรือเครื่องจักรที่ไม่ได้มาตรฐาน ทำให้รูปลอนที่ออกมาไม่ได้มาตรฐาน เมื่อนำมามุงหลังคาและซ้อนทับกันจะทำให้ซ้อนทับไม่สนิท เมื่อซ้อนกันไม่สนิทก็มีโอกาสเกิดน้ำรั่ว แล้วส่งผลในเรื่องของปัญหาการใช้งานของฝ้า รวมถึงโอกาสที่จะเกิดไฟฟ้าลัดวงจร และเชื้อราต่าง ๆ ที่อาจสะสมอยู่บนฝ้าเพดาน

2. กระบวนการเคลือบไม่ได้มาตรฐาน
หากในการผลิตกระบวนการเคลือบไม่ได้มาตรฐานปัญหาที่จะเกิดตามมากับผู้ใช้งานเลยคือปัญหาของสนิมและการผุกร่อนที่เร็วกว่าที่ควรจะเป็น

หลังคาบ้านเลือกอย่างไรให้ได้มาตรฐานและมีคุณภาพ

3. เหล็กที่นำมาใช้ความหนาไม่ได้มาตรฐาน
เหล็กถือว่าเป็นอีกหนึ่งวัสดุหลักที่ใช้ในการขึ้นรูปหลังคา ตัดเหล็กผู้ผลิตออกมามีความหนาไม่ได้มาตรฐาน ก็จะส่งผลในเรื่องของความแข็งแรงของตัวหลังคาและอายุการใช้งานที่จะสั้นลงเป็นอย่างมาก ยังไม่นับรวมถึงปัญหาที่อาจเกิดขึ้นจากโอกาสของการแตกหักรั่วซึมที่มากกว่าหลังคาที่ความหนามีมาตรฐาน
ตอนนี้เป็นแค่ 3 ปัญหาหลัก ๆ ที่มีโอกาสเกิดขึ้นได้มากที่สุด หากนำวัสดุที่ไม่มีคุณภาพมาใช้ในการมุงหลังคา ซึ่งแน่นอนว่าปัญหาเหล่านี้ก็จะกลับมาหาตัวเราในอนาคตและไม่ใช่ปัญหาที่เราจะต้องมานั่งซ่อมหลังคา ปัญหาหลังคานำมาซึ่งปัญหาอื่น ๆ อีกมากมาย

หลังคาบ้านเลือกอย่างไรให้ได้มาตรฐานและมีคุณภาพ

สุดท้ายทั้งหมดที่กล่าวมาในบทความนี้แสดงให้เห็นถึงความสำคัญของมาตรฐานการผลิตที่จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องใส่ใจดูแลและตรวจสอบให้ชัดเจน ว่าบริษัทผู้ผลิตที่เรากำลังจัดซื้อนั้นได้มาตรฐานหรือไม่ หากไม่ได้มาตรฐาน จำเป็นจะต้องเลือกบริษัทที่มีมาตรฐาน เพราะบ้านไม่ใช่แค่ที่อยู่อาศัยแต่บ้านเป็นแทบทั้งหมดของชีวิตคน ๆ หนึ่งเลยก็ว่าได้

คลิกติดต่อสั่งซื้อสินค้า

สินค้าแนะนำ

PU Foam VS PE Foam ต่างกันอย่างไร ใช้แบบไหนดีกว่า

PU Foam VS PE Foam ต่างกันอย่างไร ใช้แบบไหนดีกว่า

อีกหนึ่งปัญหาของคนที่อยู่บ้านมาจะเจอเหมือนกันนั่นคือ เรื่องปัญหาความร้อนในบ้าน ซึ่งเมื่อพูดถึงปัญหาความร้อนในบ้านสิ่งที่จะตามมานั่นคือ ฉนวนกันความร้อน พอพูดถึงฉนวนกันความร้อนก็จะเกิดความสับสนขึ้นระหว่าง PU โฟม และ PE โฟม ว่ามันต่างกันอย่างไร? ต้องเลือก PE หรือ PU ถึงจะเหมาะกับบ้านของเรา

PU Foam VS PE Foam ต่างกันอย่างไร ใช้แบบไหนดีกว่า

เมื่อพูดถึงฉนวนกันความร้อนสิ่งหนึ่งที่จะตามมานั่นคือหลังคาเมทัลชีท เพราะเป็นหลังคาที่แปะติดตัวฉนวนกันความร้อนมาในตัว สามารถหาซื้อได้ง่ายและเป็นที่นิยมในตลาด ดังนั้นในบทความนี้ผมจะขอพูดถึงตัวฉนวน PE และ PU ที่ติดอยู่กับหลังคาเมทัลชีทเท่านั้น ว่าทั้ง 2 ชนิดนี้ต่างกันอย่างไร เลือกใช้อย่างไร

PU Foam VS PE Foam ต่างกันอย่างไร ใช้แบบไหนดีกว่า

ฉนวน PE Foam

ฉนวน PE หรือ Polyethylene ลักษณะภายนอกจะเป็นแผ่นโฟมบาง ๆ หุ้มด้วยฟอยล์ทั้ง 2 ชั้น ซึ่งในการทำจะเป็นการขึ้นรูปโฟมแล้วรีดติดลอนมา การรีดลอนก็จะเป็นการใช้โฟมทาลงไปที่ตัวลอนแล้วติด PE ทับด้านบน

เรามักจะเห็นโฟมชนิดนี้ได้ตามโรงงานใหญ่ ๆ ที่ถูกสร้างมานาน ห้างสรรพสินค้าที่อยู่มานานแล้ว เนื่องจากเมื่อประมาณ 5-10 ปีก่อน ฉนวนชนิด PE เป็นโฟมชนิดเดียวที่อยู่ในตลาดราคาไม่สูงและสามารถติดตั้งได้ง่าย ส่วนโฟม PU ก็มีอยู่น้อยส่วนที่มีก็ราคาค่อนข้างสูงเนื่องจากเป็นนวัตกรรมใหม่

ข้อดีของ PE Foam คือ น้ำหนักเบา กันความร้อนได้ระดับหนึ่ง งานและติดตั้งง่าย แล้วที่สำคัญคือราคาค่อนข้างถูก แต่ก็จะมีข้อด้อยอยู่ตรงที่อายุการใช้งาน เพราะเมื่อใช้งานไปประมาณ 3-5 ปีจะเกิดปัญหากาวหลุดร่อน ทำให้ตัวโฟมหลุดร่อนออกมาเป็นแผ่น ๆ ส่งผลให้จะต้องทำการซ่อมแซมหรือเปลี่ยนฉนวนบ่อย ๆ

PU Foam VS PE Foam ต่างกันอย่างไร ใช้แบบไหนดีกว่า

ฉนวน PU Foam

ฉนวน PU หรือที่ย่อมาจาก Polyurethane Foam ซึ่งผลิตโดยการฉีดสารโพลิเมอร์ออกมา แล้วขยายตัวให้กลายเป็นโฟมเนื้อละเอียดสีเหลือง ๆ ฉีดออกไม้ให้หนาติดกับตัวหลังคาเมทัลชีท แล้วทำการปิดแผ่นฟอยล์ทับด้านหนึ่ง

คุณสมบัติการเป็นฉนวนหรือการกันความร้อนดีกว่า PE ค่อนข้างเยอะ แทบจะเป็นฉนวนที่ดีที่สุดสำหรับหลังคาเมทัลชีทในปัจจุบัน

โดยการใช้งานจะแบ่งเป็น 2 แบบหลัก ๆ
แบบแรกคือการฉีดติดเข้าไปกับหลังคาเมทัลชีทอย่างที่กล่าวไปตอนต้นและอีกแบบคือการฉีดโฟมคลุมไปกับหลังคาเก่า ซึ่งไม่ว่าจะเป็นรูปแบบงานแบบไหนก็เป็นงาน PU เช่นเดียวกัน ที่สำคัญที่สุดคือราคาของโฟมแบบ PU ถูกลงกว่าสมัยก่อนที่เพิ่งเริ่มผลิตเป็นอย่างมาก โดยเมื่อก่อนอาจจะตารางเมตรละเกือบ 1,000 แต่ปัจจุบันเหลือเพียงตารางเมตรละ 100 กว่าบาทถึง 200 เท่านั้นเอง

PU Foam VS PE Foam ต่างกันอย่างไร ใช้แบบไหนดีกว่า

แม้ราคาจะยังสูงกว่าแบบ PE แต่ด้วยคุณสมบัติที่สูงกว่าจึงทำให้ปัจจุบันการใช้ฉนวนแบบ PU แพร่หลายและเป็นที่นิยมมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งงานบ้าน งานโรงรถหรืองานที่ไม่ได้มีขนาดใหญ่มากการใช้ PU ก็เหมาะสมแก่ราคา แต่หากเป็นงานที่มีขนาดงานค่อนข้างมาก พื้นที่เยอะ ๆ เช่น หลังคาโรงงาน หรือหลังคาห้างสรรพสินค้า ก็อาจจะไม่ได้ต้องการฉนวนระดับ PU ซึ่งจะทำให้งบประมาณค่อนข้างสูง แต่ใช้ฉนวนแบบ PE ก็เพียงพอต่อการใช้งานและงบประมาณก็ไม่ได้สูงจนเกินไป

ดังนั้นทั้ง PE และ PU ในปัจจุบัน ยังสามารถใช้ได้ทั้ง 2 ชนิด เพียงแต่จะต้องดูให้ดีว่าการใช้งานเหมาะกับฉนวนชนิดไหน ไม่มากก็อาจใช้ PU แต่หากเป็นงานใหญ่เนื้อที่เยอะ ใช่แค่ PE ก็พอแล้ว
ทั้งหมดนี้คือความแตกต่างและความเหมาะสมในการใช้งานของฉนวนทั้ง 2 ประเภท สามารถเลือกใช้ตามความเหมาะสมในงานของคุณได้เลย

คลิกติดต่อสั่งซื้อสินค้า

สินค้าแนะนำ

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า