เหล็กข้ออ้อย

เหล็กข้ออ้อย ปทุมธานี

เหล็กข้ออ้อย

เหล็กข้ออ้อย เป็นเหล็กเส้นใหญ่สเปคใหญ่สุดในบรรดาเหล็กเส้นด้วยกัน ใช้สำหรับงานก่อสร้างหรืองานคอนกรีตที่ต้องรับน้ำหนักมากที่สุด เช่น งานอาคารขนาดใหญ่ งานถนนคอนกรีตที่ต้องรับน้ำหนักรถวิ่งอยูตลอดเวลา เหล็กข้ออ้อยมีขนาดตั้งแต่ 4 หุนอ้อย , 5 หุนอ้อย , 6 หุนอ้อย 1นิ้วอ้อย มีทั้งแบบเหล็กอ้อยเบา และเหล็กอ้อยโรงใหญ่

เหล็กข้ออ้อย คือ อะไร

เป็นเหล็กที่มีครีบและบั้งที่ผิวเหล็ก ซึ่งหน้าที่ของครีบและบั้งคือ ช่วยให้เหล็กยึดเกาะกับคอนกรีตได้ดี ทำให้โครงสร้างอาคารคอนกรีตเสริมเหล็กมีความแข็งแรง เป็นเนื้อเดียวกัน ส่วนมากมักจะใช้ในงานก่อสร้างที่ต้องการเพิ่มความแข็งแรงให้กับคอนกรีต เช่น คาน เสา พื้นถนน สะพาน เขื่อน บ้าน อาคาร และงานก่อสร้างที่มีแรงอัดมากๆ เป็นต้น โดยเหล็กเส้นข้ออ้อยจะมีหลายขนาดและหลายความสามารถในการรับแรง ซึ่งเหมาะกับการใช้งานแตกต่างกัน เช่น เหล็กเส้นข้ออ้อย SD30 SD40 SD40S และ SD50

เหล็กข้ออ้อย มีชื่อภาษาอังกฤษว่า Deformed Bars

เหล็กข้ออ้อย มีประโยชน์อย่างไร

ประโยชน์ของเหล็กข้ออ้อยก็คือ เป็นเหล็กที่ใช้ในการก่อสร้างโครงสร้างแบบคอนกรีตเสริมเหล็ก ในการก่อสร้างแต่ละครั้งยังต้องมีการใช้งานควบคู่กับเหล็กเส้นกลมด้วย โดยทั้งนี้ทั้งนั้นขึ้นอยู่กับดุลพินิจของวิศวกรประจำโครงการ แต่ส่วนมากจะใช้เหล็กข้ออ้อยเป็นหลัก เพราะรับแรงได้ดีกว่าเหล็กเส้นกลม และเหล็กข้ออ้อย เป็นเหล็กที่มีแรงยึดเกาะที่ผิวสูง เหมาะสำหรับงานคอนกรีตเสริมเหล็ก ที่ต้องการความแข็งแรงสูงเช่น เขื่อน, สะพาน หรืองานก่อสร้างใดๆ ที่ต้องรับแรงอัดมากๆ และตึกที่มีความสูงมาก

การเลือกซื้อเหล็กข้ออ้อยที่ดี ดูได้จากอะไรบ้าง

หลักการพื้นฐานในการเลือกซื้อเหล็กข้ออ้อย ควรจะมีป้ายบอกรายละเอียดติดไว้ให้ชัดเจน เพื่อบอกข้อมูลที่สำคัญ ๆ ได้แก่

  • เครื่องหมาย มอก.
  • ขนาด
  • ความยาว
  • บริษัทผู้ผลิต ประเภทสินค้า
  • ชั้นคุณภาพ
  • วันเวลาที่ผลิต

เหล็กข้ออ้อย

การนำเหล็กข้ออ้อยไปใช้งาน  

เหล็กข้ออ้อยจะนำไปใช้งานประเภทงานเสา คาน บันได รวมไปถึงบ่อและสระน้ำ สระว่ายน้ำต่าง ๆ โดยเหล็กข้ออ้อยที่ดีจะต้องมีระยะบั้งหรือครีมที่เท่ากันเสมอกัน ราคาเริ่มต้นที่ร้อยกว่าบาทและขนาดใหญ่ที่สุดคือ 1นิ้วอ้อย จะอยู่ที่เส้นละ 600-700 กว่าบาท ราคาเหล็กจะเปลี่ยนแปลงอยู่เป็นประจำทุกเดือน หรือเกือบทุกสัปดาห์ หากผู้รับเหมาหรือช่างก่อสร้างจะซื้อเหล็กข้ออ้อยมาใช้ ควรสอบถามราคาก่อนและควรสอบถามราคาจากหลาย ๆ ร้าน

แนวโน้มราคาเหล็กข้ออ้อย 

ต้องยอมรับว่าราคาเหล็กในวันนี้กับเมื่อ 10กว่าปีก่อนราคาเหล็กสูงขึ้นเป็นเท่าตัวเอาป็นเหล็ก 2 หุนลายหรือ 2 หุนเบา เมื่อ 18 ปีก่อนราคาเส้นละ 19 บาท แต่ปัจจุบันราคาเส้นล่ะ 38 บาท บางร้านหรือบางแห่งขายเส้นละ 40 บาทด้วยซ้ำไป และเหล็กข้ออ้อยรุ่นเล็กสุดคือ 4 หุนอ้อยโรงใหญ่ เส้นล่ะ 100กว่าบาทแล้ว แต่จะสวนทางกันระหว่างเหล็กเส้นกับปูนนะครับ ถ้าราคาปูนขึ้นราคาเหล็กจะลง หรือเหล็กสูงขึ้นราคาปูนจะลงหรือคงที่ไม่ปรับลง

เหล็กข้ออ้อยที่คนไทยนิยมมาใช้งานมากที่สุด

เหล็กข้ออ้อยขนาดที่ช่างไทยหรือผู้รับเหมาไทยนิยมใช้ที่สุด ก็คือ เหล็ก 4 หุนอ้อย สำหรับเหล็ก 4 หุนอ้อย จะมีขนาดตั้งแต่ 10 มิล ไล่ไปจนถึงขนาด 4 หุนอ้อยโรงใหญ่เลยทีเดียว ราคาตกเส้นละ 100 กว่าบาทไม่เกิน 200 บาทนะครับ มีทั้งแบบงอและแบบเส้นตรง ถ้าใช้เส้นตรงแนะนำให้สั่งจากโรงงานหรือสั่งจากร้านวัสดุก่อสร้างการเลือกใช้เหล็กข้ออ้อยเส้นตรงก็เพื่อจะได้ไม่ต้องเสียเวลาเอาเหล็กเส้นที่งอหรือพับแล้วมาดัดให้เหล็กมันตรงอีกด้วย

เหล็กข้ออ้อยที่ดีต้องมีมาตรฐานอะไร

  • เหล็กข้ออ้อยที่ดีควรผลิตจากเตา EF เป็นเตา EF สามารถควบคุมส่วนประกอบทางเคมีได้อย่างแม่นยำ เหล็กที่ได้จึงมีคุณภาพสูง แข็งแกร่งเหมาะกับงานก่อสร้าง พร้อมทั้งส่งผ่านแรงได้ดี ดังนั้น เหล็กข้ออ้อยที่เลือกใช้จึงควรผลิตจากเตา EF
  •  ผ่าน มอก.รับรองความปลอดภัย เหล็กเส้นข้ออ้อยจะต้องผ่านมาตรฐานเหล็กเส้นฉบับใหม่ พ.ศ. 2559 จากมอก. 24-2548 เป็นมอก.24-2559

การเลือกใช้งานเหล็กข้ออ้อย
การเลือกใช้งานเหล็กข้ออ้อยเป็นหลัก เนื่องจากรับแรงหรือน้ำหนักได้ดีกว่า , ในเสาแนวตั้ง จะใช้เหล็กข้ออ้อยเป็นเหล็กยืน และตั้งตลอดแนวเสา และใช้เหล็กเส้นกลมเป็นเหล็กปลอกรัดรอบเหล็กยืนเป็นระยะ ๆ , ในคานแนวนอน จะใช้เหล็กข้ออ้อยเป็นเหล็กนอน และใช้เหล็กเส้นกลมเป็นหลัก ปลอกรัดรอบเหล็กนอกเป็นระยะ ๆ

สำหรับการเลือกใช้ชนิดของเหล็กเส้นข้ออ้อย SD30, SD40, และ SD50 ขึ้นอยู่กับชนิดของโครงสร้างเป็นสำคัญ ลักษณะของเหล็กเส้นข้ออ้อยที่ดี ต้องมีระยะบั้งที่เท่ากันและสม่ำเสมอตลอดทั้งเส้น ไม่มีสนิมรอยตำหนิ ไม่มีรอยปริและแตกร้าว ความยาวโดยปกติที่ขายกันในท้องตลาด คือ 10 ม. แต่อาจจะสั่งพิเศษ เช่น 12 ม. หรือมากกว่านั้นก็ต้องสั่งทำขึ้นมาเป็นพิเศษ

เหล็กข้ออ้อย โรงใหญ่จะราคาแพงที่สุดในบรรดาเหล็กข้ออ้อยทั้งหมด บางครั้งช่างก่อสร้างหรือผู้รับเหมาจะเลือกใช้เหล็กข้ออ้อย น้ำหนักเบา ซึ่งจะมีราคาถูกกว่าเหล็กข้ออ้อยเต็ม โรงใหญ่ แต่เป็นเหล็กข้ออ้อยเหมือนกัน ซึ่งใช้ในการทำงานได้เหมือนกัน

การเลือกซื้อเหล็กข้ออ้อย

เหล็กเส้น หรือ เหล็กเสริม คือ วัสดุสำหรับใช้งานคอนกรีตเสริมเหล็กและงานก่ออิฐทั่วไป โดยใช้ในการเพิ่มความสามารถในการรับแรงกับโครงสร้าง
โดยทั่วไปจะแบ่งเหล็กเส้นเป็น 2 ประเภท คือ
1.เหล็กกลมผิวเรียบ SR24 มีกำลังรับแรงดึงที่จุดครากไม่น้อยกว่า 2400 ksc มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางขนาดต่าง ๆ เช่น RB6 RB9 RB12 RB15 เนื่องจากผิวเหล็กที่มีลักษณะกลมเรียบ จึงทำให้แรงยึดเหนี่ยวระหว่างผิวเหล็กกับผิวคอนกรีตไม่ดีจึงต้องมีการงอขอเพื่อให้สามารถถ่ายเทแรงได้อย่างมีประสิทธิภาพ
2.เหล็กข้ออ้อย SD30 SD40 SD50 มีกำลังรับแรงดึงที่จุดครากไม่น้อยกว่า 3000 4000 5000 ksc ตามลำดับ โดยปกติจะมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง เช่น DB10 DB12 DB16 ผิวของเหล็กเส้นจะมีขนาดเป็นปล้อง เพื่อเพิ่มแรงยึดเหนี่ยวให้เหล็กกับคอนกรีตมากขึ้น

การเลือกใช้ชนิดของเหล็กเส้นข้ออ้อย SD30 , SD40 และ SD50 ขึ้นอยู่กับชนิดของโครงสร้างเป็นสำคัญ ลักษณะของเหล็กเส้นข้ออ้อยที่ดี ต้องมีระยะบั้งที่เท่ากันและสม่ำเสมอตลอดทั้งเส้น ไม่มีสนิมรอยตำหนิ ไม่มีรอยปริหรือแตกร้าว ความยาวโดยปกติที่ขายกันตามท้องตลาด คือ 10 เมตร หรืออาจสั่งพิเศษ เช่น 12 เมตร หรือมากกว่านั้นก็ต้องสั่งทำพิเศษ

ประโยชน์ของเหล็กข้ออ้อย
ใช้ในการก่อสร้างโครงสร้างเสริมเหล็กคอนกรีต ในการก่อสร้างแต่ละครั้ง ต้องมีการใช้งานควบคู่กับเหล็กเส้นกลมด้วย โดยทั้งนี้และทั้งนั้นขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของวิศวกรประจำโครงการด้วย แต่โดยส่วนมากจะใช้เหล็กข้ออ้อยเป็นหลัก เพราะรับแรงได้ดีกว่าเหล็กเส้นกลม
เหล็กข้ออ้อย เป็นเหล็กที่มีแรงยึดเกาะที่ผิวสูง เหมาะสำหรับงานคอนกรีตเสริมเหล็ก ที่ต้องการความแข็งแรงสูง เช่น เขื่อน , สะพาน , หรืองานก่อสร้างใด ๆ ที่ต้องรองรับแรงอัดมาก ๆ และตึกที่มีความสูงมาก ๆ

การเลือกซื้อเหล็กข้ออ้อยที่ดีดูได้จากอะไรบ้าง

  • เครื่องหมาย มอก.
  • ขนาด
  • ความยาว
  • บริษัท ผู้ผลิต ประเภทสินค้า
  • ชั้นคุณภาพ
  • วันเวลาที่ผลิต

ขั้นตอนการผลิตเหล็กข้ออ้อย
การผลิตเหล็กข้ออ้อยในปัจจุบันนั้น ต้องเป็นไปตามมาตรฐานการบังคับ มอก.24-2548 ซึ่งเป็นการปรับปรุงคุณภาพการผลิตมาจาก มอก.24-2536 ประการสำคัญของการเปลี่ยนแปลงนี้คือ อนุญาตให้มีการผลิตโดยผ่านกรรมวิธีทางความร้อน โดยผู้ผลิตจะต้องทำสัญลักษณ์ “T” ประทับเป็นตัวนูนบนเนื้อเหล็ก เป็นการถาวรต่อจากชั้นคุณภาพเหล็ก

ประเภทของเหล็กแบ่งตามชั้นคุณภาพของเหล็ก ดังนี้
SD30 คือ เหล็กที่ต้องมีกำลังจุดคลากไม่ต่ำกว่า 3,000 กิโลกรัม/ตารางเซนติเมตร
SD40 คือ เหล็กที่ต้องมีกำลังจุดคลากไม่ต่ำกว่า 4,000 กิโลกรัม/ตารางเซนติเมตร
SD50 คือ เหล็กที่ต้องมีกำลังจุดคลากไม่ต่ำกว่า 5,000 กิโลกรัม/ตารางเซนติเมตร

รู้จักกับเหล็กเส้นแต่ละประเภท

เหล็กเป็นแร่ธาตุและมีส่วนสำคัญที่ใช้ในการก่อสร้าง และทำให้สิ่งก่อสร้างเป็นรูปเป็นร่าง และมีความคงทนแข็งแรง เหล็กแต่ละประเภทจะมีลักษณะแตกต่างกันไป

สามารถแบ่งได้ 2 ประเภทดังนี้
1.เหล็กเส้นกลม ช่างโดยทั่วไปมักจะเรียกเหล็กชนิดนี้ว่า เหล็ก RB ลักษณะภายนอกจะมีผิวเรียบเกลี้ยง หน้าตัดกลม ซึ่งที่มีขายกันอยู่ทั่วไป ใช้ในการยึดเหนื่ยวระหว่างเหล็กกับคอนกรีต ต้องมีการงอเหล็กเพื่อที่จะถ่ายแรงได้อย่างมีประสิทธิภาพ ส่วนมากมักจะใช้สำหรับงานโครงสร้าง เชน ปลอกเสา , ปลอกคาน , โครงถนน , งานก่อสร้างขนาดเล็กและขนาดกลาง เป็นต้น เหล็กชนิดนี้จะมีเส้นผ่าศูนย์กลางตั้งแต่ 6-25 มิลลิเมตร สามารถเลือกใช้งานได้ตามความเหมาะสมของงาน

มาตรฐานอุตสาหกรรม มอก.20-2559 ชั้นคุณภาพของเหล็กประเภทนี้คือ SR24 ที่เป็นที่รู้จักและนิยมใช้ คือ เหล็ก Tata Sitcon , บลกท , RSM , TDC ,

  • RB 6 (เหล็กเส้นกลม 2 หุน) ใช้สำหรับงานก่อสร้างที่รับแรงไม่มาก นิยมใช้สำหรับทำปอกเสา และปอกคาน
  • RB9 (เหล็กเส้นกลม 3 หุน) ใช้สำหรับงานก่อสร้างที่รับแรงไม่มาก คล้ายกับเหล็กเส้น 2 หุน
  • RB12 (เหล็กเส้นกลม 4 หุน) ใช้สำหรับงานก่อสร้างทั่วไป แต่ไม่เน้นงานยึดเกาะ เพราะเหล็กมีลักษณะเรียบมน ทำให้ยึดเกาะปูนไม่ดีเท่าที่ควร ส่วนมากนิยมใช้กับงานกลึง เช่น งานกลึงหัวน็อตต่าง ๆ
  • RB19 ใช้สำหรับงานทำถนน
  • RB25 ใช้สำหรับทำเหล็กสตัท เกรียวเร่ง สำหรับงานยึดโครงป้ายขนาดใหญ่ สามารถรับแรง และน้ำหนักได้ดี

2.เหล็กข้ออ้อย เป็นเหล็กที่ใช้สำหรับงานก่อสร้าง เสริมคอนกรีตที่ต้องการโครงสร้างแข็งแรง เช่น อาคารสูง คอนโดมิเนียม ถนนคอนกรีต สะพาน เขื่อน สนามบิน บ่อหรือสระน้ำ เป็นต้น เป็นลักษณะเส้นกลมที่มีบั้ง ผิวของเหล็กจะมีลักษณะเป็นปล้อง ๆ อยู่ตลอดเส้น เหล็กข้ออ้อยจะรับแรงได้มากกว่าเหล็กเส้นกลมเรียบ จะให้ผลที่ดีต่อการรับน้ำหนักที่มากกว่า

การเลือกใช้ชนิดของเหล็กเส้นข้ออ้อย SD30 , SD40 และ SD50 ขึ้นอยู่กับชนิดโครงสร้างเป็นสำคัญ โดยเหล็กข้ออ้อยมีเส้นผ่านศูนย์กลางที่ขายกันอยู่ทั่วไป คือ 12 และ 16 มม. สำหรับขนาดอื่นได้แก่ 10, 20 , 25 และ 28 ต้องสั่งซื้อพิเศษ โดยเหล็กข้ออ้อยแต่ละขนาดจะมีความยาวอยู่ที่ 10 และ 12 เมตรเช่นเดียวกับเหล็กเส้นกลม
มาตรฐานของเหล็กเส้นมี 2 ประเภท คือ

  • เหล็กเต็มหรือเหล็กโรงใหญ่ หมายถึง เหล็กที่มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง และน้ำหนักของเหล็กได้มาตรฐาน มอก. 24-2559
  • เหล็กเบาหรือเหล็กโรงเล็ก เป็นเหล็กทีผลิตให้มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางและน้ำหนักต่ำกว่ามาตรฐาน มอก. มักเป็นเหล็กรีดซ้ำ เหล็กเบาจะมีราคาต่ำกว่าเหล็กเต็ม ซึ่งจะทำให้เกิดการประหยัดค่าใช้จ่าย แต่อาจก่อให้เกิดอันตราย เพราะอาจไม่สามารถรับน้ำหนักตามที่แบบกำหนดไว้ได้

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า