พื้นคอนกรีต สำเร็จรูปดีอย่างไร

พื้นคอนกรีตสำเร็จรูปความหมายคือตัวพื้นคอนกรีตสำเร็จรูป ยกมาติดตั้งแล้วใช้งานเลยไม่ได้ ต้องมาทำอะไรบางอย่าง ที่หน้างานอีกขั้นตอนหนึ่ง แล้วถึงจะได้องค์ประกอบที่สำเร็จพร้อมใช้งาน  พื้นสำเร็จรูปออกแบบมาพร้อมที่จะใช้งานแต่ยังใช้งานไม่ได้

พื้นสำเร็จรูปต้องประกอบด้วย 2 ส่วนหลักๆ
คือหนึ่งส่วนที่ผลิตมาจากโรงงานส่วนนี้ต้องมีคุณสมบัติที่แข็งแรงพอสมควร รับน้ำหนักตัวเองได้ ขนส่งแล้วไม่แตกไม่หักเพราะฉะนั้นผลิตที่โรงงานมันจะเร็วควบคุมคุณภาพง่าย เสร็จแล้วเอามาติดตั้งง่ายด้วย องค์ประกอบนี้เป็นองค์ประกอบหลักที่ถูกออกแบบมา
องค์ประกอบที่สองคือ พอมาติดตั้งหน้างานใช้ได้เลยไม่ได้แต่ต้องรับน้ำหนักระหว่างก่อสร้างได้ความหมายคือ เอาพื้นไปวาง แล้วต้องขึ้นไปเดินได้ขึ้นไปผูกเหล็กได้ ต้องแข็งแรงพอที่จะเอาคอนกรีตมาเทแล้วไม่หักแต่ยังรับน้ำหนักตามที่ออกแบบโดยสมบูรณ์ได้ดี  ซึ่งหลักๆเขาเรียกเท Topping มาผูกเหล็ก เท Topping ตามที่ออกแบบมา พอมันแข็ง จับตัวเป็นเนื้อเดียวกันมันถึงสำเร็จรูปที่ใช้งานได้ ตามวัตถุประสงค์ที่ถูกออกแบบมา เพราะฉะนั้นมันถึงมี 2 ส่วน

ส่วนแรกคือถูกผลิตมาจากโรงงาน รับน้ำหนักตัวเองได้ ขนส่งตัวเองได้ ไม่แตก ไม่หัก เอามาติดตั้งแล้วไม่แตกไม่หักรับน้ำหนักการทำงานบนตัวมันเองได้ในระดับหนึ่ง พอมาประกอบส่วนที่ 2 เข้าไปใส่เหล็กตะแกรง Wire Mesh ผูกเหล็กต่างๆ เทคอนกรีตทับหน้าตาที่ออกแบบมาพอคอนกรีตทับหน้าได้กำลังแข็งตัวตามที่ออกแบบมา มันจะมีความแข็งแรงอีกระดับหนึ่งนั้นคือระดับที่เราต้องการ ในการออกแบบ เราจึงนิยามคอนกรีตประเภทนี้ หรือพื้นคอนกรีตประเภทนี้ว่า พื้นสำเร็จรูป

ตัวอย่างพื้นสำเร็จรูปที่นำไปใช้งาน
แบบที่ 1 แผ่นพื้นสำเร็จรูปท้องเรียบ หน้า 5 ซม. กว้าง 35 ซม. ยาวไม่เกิน 4 เมตร โดยปกติ อันนี้เวลาก่อสร้างบ้านจะเห็นเขาขายวางเรียงกันเป็นแถวๆ อันนี้แบบที่หนึ่ง คุ้นชินกันอยู่แล้วโดยเฉพาะบ้านพักอาศัย หรืออาคารขนาดเล็ก Span ไม่ยาวส่วนใหญ่ก็จะคลุมที่เรียกว่าระยะคานถึงคาน ประมาณไม่เกิน 4 เมตร เราก็ใช้ตัวนี้ แล้วก็รับน้ำหนักไม่เยอะมาก 100 – 200 กก./ตร.ม.
แบบที่ 2 ต้องการที่แข็งแรงมากว่านี้หน่อย อาจจะใช้ในงานห้างสรรพสินค้า โรงงานอุตสาหกรรม ที่คานถึงคาน 8 เมตร 10 เมตร หรือ 12 เมตร ก็ได้ อาจจะรับน้ำหนักถึง 500 กก./ตร.ม. 1,000 กก./ตร.ม. ก็ยังรับได้ แบบตรงนั้นก็ต้องใช้แผ่นพื้นสำเร็จรูปอีกแบบหนึ่งซึ่งเราอาจจะเคยเห็นที่เขาขนส่ง หรือที่ก่อสร้างคือ แผ่นพื้นสำเร็จรูป Hollow Core ก็จะมีความหนาตั้งแต่ 12 ซม. 6,10,12 ,15,25,30 ซม. แล้วมีรูตรงกลางเพื่อลดน้ำหนัก เขาจะออกแบบมาซึ่งทำงานเหมือนกันเลย พอมันใหญ่ขึ้น แข็งแรงขึ้น มันก็จะรับความยาวช่วงได้มากขึ้นรับน้ำหนักบนตัวมันได้มากขึ้น นอกนั้นหลักการเดียวกันกับพื้นสำเร็จรูปท้องเรียบ อันนั้นคือพื้น Hollow Core ส่วนใหญ่ที่เป็นคอนกรีตเราก็จะเจอสองแบบนี้

แต่เราจะเห็นอีกแบบหนึ่งที่เราจะเห็นบางทีเขาทำสะพานลอย Sky Walk จะเห็นว่าทำไมเขาเอาเมทัลชีทมาวาง แล้วเทคอนกรีตจริงๆ มันเป็นเหล็กเดียวกับเมทัลชีท เราเรียกระบบนี้ว่า Steel Deck แทนที่จะเอาแผ่นพื้นท้องเรียบ เขาก็เอาแผ่นที่เป็นลอนที่เป็นเหล็กเอามาวาง เสร็จแล้วก็จะมีเดือย เอา Wire Mesh วาง เสร็จแล้วเทปูน เหมือนกันพอเสร็จแล้วก็ใช้งานได้ตามปกติ เพราะฉะนั้นตรงนี้ก็จะเป็นแผ่นพื้นสำเร็จรูปอีกแบบหนึ่ง เพียงแต่ว่าตัวสำเร็จรูปจากโรงงาน เปลี่ยนจากคอนกรีตเป็นเหล็กเท่านั้น
ทำไมต้องใช้แบบนี้ แผ่นพื้นสำเร็จรูปผลิตจากโรงงานมาถึงวางบนคาน สิ่งที่หายไปในการก่อสร้างคือไม้แบบ ลองนึกภาพถ้าไม่เอาแผ่นพื้นสำเร็จรูปมาใช้ เราจะเทปูนด้วยการเอาคอนกรีตมาเท สมมุติชั้นสองช่างต้องตั้งตุ๊กตา ตุ๊กตาที่เป็นไม้ ไม่ใช่ตุ๊กตาเป็นตัว ต้องตั้งตุ๊กตาเสร็จแล้วต้องทำคานไม้ ตั้งไม้เสร็จแล้วต้องปูแผ่นไม้อัด เพื่อทำเป็นไม้แบบรองรับ ทำไม้แบบเสร็จแล้วค่อยผูกเหล็ก ผูกเหล็กเสร็จแล้วค่อยเทปูน แล้วต้องรออีกอย่างน้อย 14 วัน ถึงจะถอดไม้แบบข้างล่างได้ทำอะไรต่อไม่ได้เลย

พื้นสำเร็จรูป มีประโยชน์อย่างไร

1.เหมาะสมที่สุดคือมันเอามาแทนการใช้ไม้แบบไปเลย
2.ลดเวลาการใช้แรงงานคน ลดค่าแรง
ซึ่งพอมาเฉลี่ยกันแล้วพื้นสำเร็จรูปเหมือนจะแพงกว่า แต่จริงๆ พอมาชดเชยเรื่องเวลาและค่าแรงต่างๆ ค่าไม้แบบที่เอามาถัวเฉลี่ยกัน ไม่ได้แพงกว่าเลย เป็นทางเลือกที่ดีทางเลือกหนึ่ง

เครดิตคุยข้อมูล

คอนกรีตสำเร็จรูปคืออะไร มีประโยชน์อย่างไร?

วันนี้เราจะมาคุยกันเรื่องพื้น ๆ ครับ ใช่ครับเราพูดถึงพื้นจริงๆ นี่แหละครับ ซึ่งเราจะมาพูดถึงพื้นคอนกรีตสำเร็จรูป หนึ่งในตัวช่วยที่ดีสำหรับผู้รับเหมาก่อสร้าง ในการเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานและลดเวลาในการทำงานได้มากเลย

พื้นคอนกรีตสำเร็จรูปคืออะไร

พื้นคอนกรีตสำเร็จรูปคือคอนกรีตที่ถูกขึ้นรูปมาแล้วทำให้พร้อมใช้งานและติดตั้งในหน้างานได้ทันที ถ้าจะให้เห็นภาพก็จะมีลักษณะคล้ายกับบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป ที่แค่เติมน้ำร้อนก็กินได้ทันที คอนกรีตสำเร็จรูปก็เช่นกัน เพียงนำมาติดตั้ง เสริมเหล็ก เทคอนกรีตและบ่มคอนกรีตก็พร้อมใช้งานได้แล้ว

คอนกรีตสำเร็จรูป

พื้นคอนกรีตสำเร็จรูปที่ดีต้องมีลักษณะอย่างไร?

องค์ประกอบหลักของพื้นคอนกรีตสำเร็จรูปที่ดีมีอยู่ด้วยกันหลัก ๆ 2 องค์ประกอบ

1. มีความแข็งแรง รับน้ำหนักตัวเองได้
พื้นคอนกรีตเสริมสำเร็จรูปที่มีความแข็งแรงมากพอ จะช่วยให้เมื่อทำการขนส่งแล้วจะไม่มีการแตกหัก ซึ่งแน่นอนว่าคอนกรีตแบบนี้เวลาขนส่งจะต้องขนส่งทีละหลายๆ แผ่น ทำให้ความแข็งแรงมีความจำเป็นอย่างยิ่ง

2. รับน้ำหนักของงานทั้งหมดได้
เมื่อนำมาใช้หน้างาน ต้องมีความสามารถในการรับน้ำหนักของงานทั้งหมดในระหว่างการก่อสร้างได้ นั่นหมายถึงคนงานสามารถขึ้นไปเดินได้ ไม่ต้องมีไม้แบบ เอาคอนกรีตและ Topping ต่างๆ ติดตั้งลงไปแล้วต้องไม่หัก อาจจะยังรับน้ำหนักงาน 100% ตามที่ออกแบบไม่ได้ แต่อย่างน้อยระหว่างก่อสร้างต้องไม่หักไม่พัง

คอนกรีตสำเร็จรูป

ประเภทของพื้นคอนกรีตสำเร็จรูปที่เป็นที่นิยม มีกี่ประเภท อะไรบ้าง?

การใช้พื้นสำเร็จรูปไม่ได้มีการใช้แค่ในบ้านหรือในครัวเรือนเท่านั้น แต่สิ่งปลูกสร้างอื่นๆก็สามารถใช้พื้นคอนกรีตสำเร็จรูปได้เช่นกัน เช่น สะพาน ท่อระบายน้ำ อาคารชลประทานต่างๆ พูดง่ายๆคือพื้นคอนกรีตสำเร็จรูปมีหลายแบบและหลายวัตถุประสงค์การใช้งานมาก วันนี้จึงยกมาเพียงแค่ 3 ประเภทที่เรามักพบเห็นได้ทั่วไป

1. พื้นสําเร็จรูปท้องเรียบ
ลักษณะทั่วไปคลื่นหนา 5 cm. กว้าง 35 cm. และยาว 4 m.
สำเร็จรูปทั่วไปที่มักเห็นในการใช้สร้างบ้านทั่ว ๆ ไป ที่ผู้รับเหมามักจะนำมาวางเรียงกัน เสริมเหล็ก เทคอนกรีต ก็กลายเป็นพื้นบ้านพร้อมใช้งานให้กับเรา
ซึ่งจะคุมระยะทางไม่เกิน 4 m. รับน้ำหนักต่อแผ่นได้ไม่มาก ประมาณ 100 – 200 กก./ตร.ม.

2. พื้นสำเร็จรูป Hollow Core
จะมีขนาดค่อนข้างใหญ่แต่จะสังเกตได้ว่าจะมี ความหนาประมาณ 6 – 25 cm ก็จะมีหลายแบบ 30,60,120 cm และความยาวตั้งแต่ 8 – 12 m. และมีรูเป็นลักษณะคล้ายท่อเพื่อลดน้ำหนัก
เป็นพื้นคอนกรีตสำเร็จรูปที่แข็งแรงขึ้นมาอีกขั้นนึง มักใช้ในห้างสรรพสินค้าหรือโรงงานอุตสาหกรรม ที่มีระยะทางประมาณ 8 – 12 m. รับน้ำหนักได้มากถึง 500 – 1000 กก./ตร.ม.

3. พื้นสำเร็จรูประบบ Steel Deck
เป็นการใช้เหล็กเมทัลชีทปูพื้น แล้วเทตามด้วยคอนกรีตเสริมเหล็ก จะเห็นได้มาก ในงานก่อสร้างประเภทสะพานหรือสกายวอล์คต่างๆ ซึ่งระบบ Steel Deck พื้นสำเร็จรูปที่เปลี่ยนจากรูปแบบคอนกรีตมาเป็นเหล็กเมทัลชีทเท่านั้นเอง

คอนกรีตสำเร็จรูป

แล้วทำไมต้องใช้แผ่นคอนกรีตสำเร็จรูป ก่อสร้างปกติไม่ได้เหรอ?

แน่นอนว่าการเปลี่ยนจากการก่อสร้างปกติ ที่เป็นการขึ้นแบบเทปูน มาเป็นการใช้แผ่นคอนกรีตสำเร็จรูป ย่อมต้องมีข้อได้เปรียบในการใช้งานอยู่แล้ว

1. ไม่ต้องใช้ไม้แบบทำให้ประหยัดเวลา
การใช้แผ่นพื้นคอนกรีตสำเร็จรูป เราสามารถนำแผ่นพื้นคอนกรีตมาวางบนคานได้เลยโดยที่ไม่ต้องมีไม้แบบ ซึ่งการก่อสร้างแบบเก่าที่ใช้ไม้แบบ จะต้องมีการนำไม้มาขึ้นรูปขึ้นคานทำเป็นแบบ จากนั้นค่อยผูกเหล็กเทปูนแล้วก็รอให้ปูนแห้ง ซึ่งตรงนี้ใช้เวลาเกือบครึ่งเดือน งานล่าช้าเป็นอย่างมาก พื้นสำเร็จรูปที่ถูกเอามาทดแทนการใช้ไม้แบบจึงให้ประโยชน์ด้านความเร็วในการก่อสร้างเป็นอย่างมาก

2. ลดค่าใช้จ่ายในเรื่องของจำนวนคน
ในการทำงานแบบเก่าจะต้องใช้คนจำนวนเยอะมากในการขึ้นแบบ ผูกเหล็ก เทปูน จึงทำให้ค่าใช้จ่ายในเรื่องของคนค่อนข้างสูง แต่การใช้พื้นคอนกรีตสำเร็จรูป แค่มีรถเครนมายก ก็สามารถติดตั้งและใช้งานได้แล้ว

คอนกรีตสำเร็จรูป

แล้วการใช้พื้นคอนกรีตสำเร็จรูปคุ้มไหม?

ในแง่ของตัวเงินดูผลผืนพื้นสำเร็จรูปอาจจะมีราคาที่สูงกว่าการเทคอนกรีตเสริมเหล็กธรรมดา เมื่อเราคิดถึงเรื่องปัจจัยแวดล้อมอย่างเรื่องเวลา จำนวนเงินในการจ้างคน และที่สำคัญมาตรฐานในการผลิต พื้นคอนกรีตสำเร็จรูปนับว่าเป็นตัวเลือกที่ดีมากๆตัวเลือกนึงเลย

หวังว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์ต่อผู้อ่านที่กำลังอยากจะสร้างบ้าน คุณจะได้มีความรู้ในการพูดคุยกับช่างเพื่อที่จะได้กำหนดวิธีการก่อสร้างวิธีการใช้งาน วัสดุต่างๆ ที่คุณต้องการ ให้เหมาะกับการก่อสร้างบ้านในแบบของคุณ

Photo Source https://pixabay.com/th/

คลิกติดต่อสั่งซื้อสินค้า

สินค้าแนะนำ

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า