กระเบื้องลอนคู่ ตราโอฬาร

กระเบื้องลอนคู่
มีลักษณะเป็นลอนห่าง เพื่อเพิ่มความแข็งแรง และการระบายน้ำได้ดี กระเบื้องมีน้ำหนักเบา เหมาะในการติดตั้งใช้งานง่าย กระเบื้องสีทุกแผ่น เคลือบด้วยสีพิเศษ 3 ชั้น ทนต่อทุกสภาวะอากาศให้สีสวยสดและเงางาม ไม่มีมลภาวะต่อธรรมชาติตลอดอายุการใช้งาน

 

กระเบื้องลอนคู่ โอฬาร จะมีสีให้เลือกทั้งหมด 4 ประเภท 

สีมาตรฐาน

สีพิเศษ

สีดับเปิ้ลโทน

สีเมทาลิค

ครอบกระเบื้องลอนคู่ Roman Tile Roof Ridge Accessories

การติดตั้งหลังคา ตราโอฬาร รุ่นลอนคู่ ต้องตัดมุมประเบื้องลอนคู่ และมุงแบบไม่สลับแผ่น เพื่อให้กระเบื้องซ้อนทับกันสนิท ทำหใ้หลังคาดูสวยงาม และขจัดปัญหาการรั่วซึมตามผังการตัดมุมกระเบื้องลอนคู่

 

เครดิต
https://www.oranvanich.co.th/

กระเบื้องมุงหลังคาใช้แบบไหนดี

บ้านของเราจะเสร็จและอยู่ไม่ได้ถ้าไม่มีกระเบื้องมุงหลังคาหรือไม่ได้มุงหลังคา ถ้าไม่ได้มุงหลังคา บ้านของเราจะไม่สามารถกันแดด กันฝน หรือกันสิ่งต่าง ๆ ที่จะตกหล่นใส่บ้านเราได้ กระเบื้องมุงหลังคามีหลายแบบ หลายสี หลายชนิด หลายยี่ห้อ หลายราคา แล้วเราจะเลือกแบบไหนให้เหมาะสมกับบ้านเราดี เหมาะสมที่ผมว่านี้รวมถึง ถูกใจ ถูกราคา สบายเงินในกระเป๋าได้อีกด้วย

1.กระเบื้องดินเผามุงหลังคา
เป็นกระเบื้องมุงหลังคาแผ่นเล็ก ๆ เช่น กระเบื้องว่าว กระเบื้องหางมน กระเบื้องดินขอรองรับด้วยระแนงขนาด 1”x1” วางห่างกันประมาณ 120 มม. เมืองมุงหลัคาแล้ววางทับซ้อนกันเกือบ 2 ชั้น น้ำหนักไม่มากนัก ปัจจุบันไม่นิยมใช้สำหรับบ้านพักอาศัย

2.วัสดุมุงหลังคาตามธรรมชาติ
คือ แป้นเกล็ดไม้สัก ใช้กับอาคารทางภาคเหนือ ลักษณะเป็นไม้แผ่นบาง ขนาดใกล้เคียงกับกระเบื้องดินเผา ปัจจุบันไม่มีการทำขึ้นมาอีก เพราะอายุการใช้งานจำกัด รั่วง่าย ไม่ทนไฟ และราคาแพงมาก

3.สังกะสี
เป็นวัสดุที่มีราคาถูก น้ำหนักเบา ลักษณะเป็นแผ่น มีหลายขนาด หลายสี และหลายราคาอีกด้วย  ราคาแตกต่างกันที่ลอน ลอนเล็กลอนใหญ่ และสีขาวสีเขียว ราคาก็จะแตกต่างกัน สังกะสีมีน้ำหนักเบา จึงประหยัดโครงสร้าง ติดตั้งและรื้อถอนได้เร็ว ไม่แตกหัก ข้อเสียคือ เป็นตัวนำความร้อนสูงมาก ทำให้กระจายความร้อนมาสู่อาคารได้อย่างรวดเร็ว เป็นสนิมง่าย ทำให้เกิดรูรั่ว และส่งผลให้มีอายุการใช้งานที่จำกัด

4.แผ่นเหลกเมทัลชีท หรือแผ่นโลหะเคลือบ
ส่วนมากใช้กับอาคารที่เป็นโกดังสินค้า โรงงาน สถานีบริการน้ำมัน โรงจอดรถ ทำให้อาคารไม่ร้อนเหมือนเก่า เพราะพัฒนาดีขึ้นมากจากสังกะสี

5.กระเบื้องไฟเบอร์ซีเมนต์
เป็นกระเบื้องมุงหลังคาที่นิยมมากในปัจจุบัน ซึ่งไม่มีใยหินเป็นส่วนผสมในกระเบื้องแล้ว จะมีทั้งกระเบื้องลอนคู่ กระเบื้องไตรลอน เป็นต้น

6.กระเบื้องโปร่งแสง
หรือกระเบื้องมุงหลังคาไฟเบอร์กลาสซึ่งผลิตมาจากใยแก้ว และ โพลิเอสเตอร์เรซิน แล้วเข้าเครื่องรีด ซึ่งจะออกมาเป็นแผ่นบาง ๆ บางเพียง1.2 มิลลิเมตร และยังเคลือบด้วยแผ่นฟิล์มพิเศษ มีคุณสมบัติในการป้องกันรังสีจากแสงแดด

7.กระเบื้องคอนกรีต
เริ่มมีการนำเข้ามาใช้เมื่อหลังคาบ้านทรงปั้นหยาได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก สามารถต้านทานต่อการพัดปลิวของแรงลมได้ และมีความแข็งแรงทนทานมากกว่ากระเบื้องไฟเบอร์ซีเมนต์

8.กระเบื้องเซรามิค
เป็นกระเบื้องมุงหลังคาที่เริ่มได้รับความนิยมแพร่หลายในกลุ่มลูกค้าผู้ทำการเลือกกระเบื้องหลังคาด้วยตัวเอง เพราะมีสีสันที่งดงาม ไม่ขึ้นรา เมื่อถูกชะล้างด้วยน้ำฝน ยังคงสภาถเหมือนใหม่เช่นเดิม

เราจะเลือกหลังคาบ้านให้เหมาะกับเราขึ้นอยู่กับความชอบ และโครงสร้างหลังคาเป็นส่วนประกอบด้วยนะครับ หรือที่นิยมกันก็เป็นบ้านหลังคาจั่วที่มีช่องระบายความร้อนได้อีกด้วย มันมีแบเป็นสีด้วย และปัจจุบันบันกระเบื้องมุงหลังคายังมีแบบสีมุกเมทัลลิคอีกด้วย เรียกว่ามองหลังคาแล้วแสบตากันเลยทีเดียว
การจะเลือกกระเบื้องมุงหลังคา ควรเลือกให้เหมาะสมกับการใช้งานแต่ละสถานที่ และ ให้เหมาะสมกับงบประมาณของเราด้วย

เครดิตรูปภาพ
statewideroofingwichita.com

การเลือกกระเบื้องมุงหลังคาให้เหมาะสมกับบ้าน

หลังคาบ้านเป็นส่วนที่สำคัญที่สุดอย่างหนึ่งของบ้าน เนื่องจากเป็นส่วนที่คลุมแดด คลุมฝน การเลือกหลังคาบ้านให้เหมาะสมกับตัวบ้านจึงเป็นเรื่องใหญ่ ยิ่งการเลือกกระเบื้องมุงหลังคาด้วยแล้วจะยิ่งใหญ่กว่า เพราะนอกจากจะทำให้บ้านดูสวยงามแล้ว ยังต้องคำนึงถึงความคงทนของกระเบื้อง ความเหมาะสมด้านราคาและ เหมาะสมกับตัวบ้าน

การเลือกกระเบื้องมุงหลังคาให้เข้ากับตัวบ้าน
1.  ทรงหางว่าวที่เป็นรูปข้าวหลามตัด จะเหมาะกับบ้านที่มีรูปทรงย้อนยุคมากกว่าบ้านทรงสมัยใหม่
2. กระเบื้องลายไม้ เพื่อการมุงหลังคาบ้านสไตล์แตกต่าง ที่เลียนแบบธรรมชาติในการก่อสร้างได้ดีกว่า
3. กระเบื้องหลังคาแผ่นเรียบ จะเหมาะกับบ้านสไตล์โมเดิร์นหรือบ้านที่มีความร่วมสมัย มากกว่าบ้านทรงโบราณ
4. กระเบื้องหลังคารอนคู่ หรือรอนเดี่ยว จะเหมาะสำหรับบ้านทรงร่วมสมัย หรือบ้านที่มีรูปทรงคลาสสิก
5. เรื่องสีของกระเบื้องก็มีความสำคัญไม่น้อย ควรเลือกให้มีสีที่เหมาะสมกับสีของบ้านด้วย จะทำให้ดูดีกว่า เช่น บ้านสีขาวหรือสีควันบุหรี่สีครีม ถ้าใช้หลังคาสีสว่าง ๆ ก็จะยิ่งทำให้บ้านดูโปร่ง แต่ถ้าใช้สีทึบก็จะทำให้บ้านดูลึกลับ และมืดทึม เป็นต้น

การเลือกวัสดุกระเบื้องในการมุงหลังคาบ้านให้ตอบโจทย์ และลงตัว
หลังคาบ้านไม่ใช่เรื่องง่าย ๆ ที่จะเปลี่ยนกันได้บ่อย ๆ และเป็นสิ่งที่ไม่ควรทำไม่ว่าจะเป็นบ้านหลังเล็กหรือใหญ่ เพราะการเปลี่ยนหลังคาแต่ละทีเป็นเรื่องใหญ่ และต้องใช้เงินจำนวนมาก วัสดุหลังคาแต่ละชนิดก็จะมีความสวยงาม และคุณสมบัติที่ต่างกัน เช่น หลังคาที่ทำมาจากคอนกรีต จะมีจุดเด่นที่เนื้อของวัสดุ และความคงทน กระเบื้องหลังคาไฟเบอร์ซีเมนต์ จะมีรูปทรงที่แปลงทันสมัย และสวยงาม กระเบื้องเซรามิก จะมีพื้นผิวมันทำให้เวลาฝนตกลงมาจะชะล้างได้ดีกว่า สีที่เคลือบไว้จะติดทนนานมีอายุการใช้งานหลายสิบปี ไม่ทำให้ดูว่าเก่า

การเลือกกระเบื้องมุงหลังคาบ้าน ต้องดูที่รูปทรงของหลังคาบ้าน
1. กระเบื้องหลังคาบ้านแต่ละอย่างจะมีองศาในการมุงที่ต่างกัน ทั้งนี้เพื่อการระบายน้ำเวลาฝนตก และไม่รั่วซึม โดยทั่วไปจะใช้กระบื้องรอนเพื่อการมุงกับหลังคาบ้านที่มีมุมองศาที่ไม่ชันมาก แต่สำหรับบ้านทรงโมเดิร์นมักจะนิยมหลังคาทรงแบน และมีองศาที่ไม่ชันมาก หรือใช้กระเบื้องที่ผลิตจาก เมทัลชีท หรือหลังคาเหล็กรีดให้เป็นรอนก็ได้ โดยต้องคำนึงถึงเรื่องฉนวนกันวามร้อน และเรื่องเสียงรบกวนจากความแรงของฝนเวลาตกกระทบด้วย เพราะอาจดังมาก

2. การเลือกกระเบี้องมุงหลังคาบ้านพร้อมอุปกรณ์เสริม หลังคาบ้านบางรุ่นจะมีอุปกรณ์เสริมมาด้วย เช่น อุปกรณ์รับสัญญาณดาวเทียม เครื่องบอกทิศทางลม หรือช่องโปร่งแสงสำหรับสกายไลท์ แผ่นปิดกันนก หรือแม้แต่ชุดอุปกรณ์ติดตั้งระบบโซล่าเซล และอื่น ๆ เป็นต้น ซึ่งอุปกรณ์เสริมเหล่านี้จะใช้หรือไม่ขึ้นอยู่กับช่าง และเจ้าของบ้าน แต่หางต้องการที่จะใช้ควรปรึกษาผู้ผลิตเพื่อการเลือกใช้ให้ถูกวิธี และจะได้ไม่เสียเปล่า แต่ทั้งนี้ก็คงต้องให้เข้ากับตัวบ้าน และรูปทรงของหลังคาด้วย

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า