ชนิดและคุณสมบัติของปูนซีเมนต์

ซีเมนต์ตามความหมายทางวิศวกรรมโยธาแบ่งออกเป็น ๒ ชนิด คือ บิทูมินัส (Bituminous) และ นันบิทูมินัส (Non Bituminous) บิทูมินัสซีเมนต์ ได้แก่ ยางมะตอย (Asphalts) และนำมันดิน (Tars) เราใช้บิทูมินัสซีเมนต์ผสมกับหิน ทราย ราดทำผิวถนน และเรียกส่วนผสมนี้ว่า แอสฟัลต์คอนกรีต (Asphalt Concrete)

นันบิทูมินัสซีเมนต์ ได้แก่ อะลูมินาซีเมนต์ (Alumina Cement) และปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ (Portland Cement) มีลักษณะเป็นผงสีเทาอ่อนต้องผสมน้ำในปริมาณมากพอสมควร แล้วทิ้งไว้ให้แห้งจึงจะแข็งตัว เรามักจะนิยมเรียกซีเมนต์ชนิดนี้ว่า ไฮดรอลิกซีเมนต์ (Hydraulic Cement) ทั้งนี้ เพราะต้องใช้น้ำผสม และแข็งตัวในน้ำได้ ดังนั้น ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์จึงเป็นที่นิยมใช้ในการก่อสร้างมากที่สุด ในที่นี้จะกล่าวถึงชนิดและคุณสมบัติของปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์

ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ แบ่งเป็น ๕ ประเภท ดังนี้

ประเภทที่หนึ่ง

เหมาะสำหรับงานก่อสร้างทั่วไป ส่วนใหญ่ จะนำไปใช้กับงานคอนกรีตเสริมเหล็ก เช่น ทำผิวถนน สะพาน ท่อระบายน้ำ เป็นต้น ปูน ซีเมนต์ประเภทนี้มีข้อเสียคือ ไม่ทนต่อสารที่เป็น ด่าง จึงไม่เหมาะสมกับงานที่ต้องสัมผัสกับด่าง จากดินหรือน้ำ เช่น โรงงานอุตสาหกรรมเคมี

ประเภทที่สอง

ปูนซีเมนต์ประเภทนี้ เมื่อผสมกับน้ำจะคายความร้อนออกมาน้อยกว่าประเภทธรรมดา และมีความต้านทานต่อสารที่เป็นด่างได้บ้าง เหมาะ สำหรับงานโครงสร้างขนาดใหญ่ อาทิเช่น ตอม่อ ขนาดใหญ่ สะพานเทียบเรือ เขื่อนหรือกำแพง กันดินในบริเวณที่ถูกน้ำเค็มเป็นครั้งคราว

ประเภทที่สาม

ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ประเภทนี้ มีความ ละเอียดมากกว่า เป็นผลทำให้แข็งตัว และรับแรงได้เร็วกว่าปูนซีเมนต์ประเภทที่หนึ่ง จึงนิยมนำไปใช้กับงานเร่งด่วน ที่ต้องแข่งกับเวลา หรือในกรณีที่ต้องการถอดหรือรื้อแบบเร็วกว่าปกติ

ประเภทที่สี่

เหมาะกับงานที่ต้องการควบคุมทั้งปริมาณ และอัตราความร้อนที่เกิดขึ้นให้น้อยที่สุด การเกิดกำลังของคอนกรีตที่มีส่วนผสมของปูนซีเมนต์ ประเภทนี้จะเป็นไปอย่างช้าๆ จึงนิยมใช้กับงาน ขนาดใหญ่ เช่น เขื่อนกั้นน้ำ ซึ่งถ้ามีความร้อน อย่างร้ายแรงต่อตัวเขื่อน เนื่องจากจะทำให้เกิด การแตกหรือร้าวได้

ประเภทที่ห้า

มีคุณสมบัติในการต้านทานต่อสารที่เป็นด่างได้สูง จึงเหมาะที่จะใช้กับงานก่อสร้างในบริเวณ ที่ต้องสัมผัสกับด่าง เช่น ในบริเวณที่ดินมีความ เป็นด่างสูง หรือน้ำทะเล ระยะเวลาในการแข็งตัวของปูนซีเมนต์ประเภทนี้ จะช้ากว่าประเภท อื่นๆ

นอกจากปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์แล้ว ยังมี ปูนซีเมนต์ชนิดอื่นที่น่าสนใจดังต่อไปนี้

1. ปูนซีเมนต์ผสม (Mixed Cement)

ได้จากการบดปูนเม็ดกับยิปซัม และวัสดุเฉื่อย ซึ่งไม่ทำปฏิกิริยาทางเคมีกับปูนซีเมนต์ เช่น หินปูนหรือทราย เป็นต้น ปูนซีเมนต์ผสม เหมาะกับงานก่อ โบก ฉาบ หรืองานก่อสร้างทั่วไป ที่ไม่ต้องการรับน้ำหนักมาก

2. ปูนซีเมนต์ขาว (White Portland Cement)

วัตถุดิบหลักคือ หินปูน และวัตถุดิบอื่น ที่มีปริมาณของแร่เหล็กน้อยกว่า ๑% ลักษณะของปูนซีเมนต์ที่ได้เป็นสีขาว ปูนซีเมนต์ขาวเป็นที่นิยมใช้ในงานตกแต่งอาคาร เพื่อความสวยงาม หรือนำไปผสมเม็ดสี (Pigment) เพื่อผลิตเป็น ปูนซีเมนต์สี (Colour Cement)

 

เครดิตข้อมูล
http://saranukromthai.or.th/

เลือกสีกระเบื้องอย่างไร ให้เหมาะกับห้อง

1. ห้องนั่งเล่น / ห้องรับแขก
เป็นห้องที่ไว้สำหรับต้อนรับผู้มาเยือน หรือ พบปะพูดคุย  ซึ่งการตกแต่งนั้น ควรให้ความรู้สึกสบายๆ และ อบอุ่น
การ กระเบื้องที่เลือกใช้นั้น ควรเป็นโทนสีอ่อน ที่มีลวดลายไม่มากนัก  และถ้าบริเวณห้องนั่งเล่นนั้น  มีการเชื่อมต่อกับบริเวณอื่นๆ  อาทิ  ระเบียง  ก็ควรเลือกใช้เป็นโทนสีเดียว
2. ห้องครัว
 ห้องครัวนั้น ต้องเผชิญกับสิ่งสกปรกอยู่บ่อยครั้ง อาทิ คราบน้ำมัน  และ เศษอาหารต่างๆ  ซึ่งกระเบื้องที่เลือกใช้นั้น ควรเป็นโทนสีเข้ม  เพื่อลดความเลอะเทอะของสิ่งสกปรก
ส่วนโทนสีนั้น แนะนำเป็น โทนสีส้ม สีเหลือง และสีครีม เพราะเป็นสีที่ช่วยในการเจริญอาหาร
3. ห้องนอน
 ห้องนอน สามารถเลือกใช้โทนสีของกระเบื้องได้ตามใจชอบแต่ไม่ควรที่จะมีลวดลายมากจนเกินไป  เพราะอาจจะทำให้ลายตา และ ส่งผลต่อการพักผ่อน
โดยโทนสีกระเบื้องที่นิยมเลือกใช้นั้น จะเป็นโทน  สีน้ำตาลอ่อน  สีขาว  สีฟ้า  สีชมพู  และสีเขียวอ่อน
4. ห้องน้ำ
สำหรับการเลือกใช้กระเบื้องภายในห้องน้ำนั้น ต้องคำนึงถึงเรื่องความปลอยภัยเป็นหลัก  โดยเฉพาะบ้านที่มีผู้สูงอายุยิ่งต้องระวังเป็นพิเศษ ซึ่งกระเบื้องที่เลือกใช้นั้น ควรเป็นกระเบื้องแบบหยาบ หรือ กระเบื้องที่มีความหนึดสูง ร่องยาแนวถี่ๆ  เพื่อลดความเสี่ยงในการลื่นล้มนั้นเอง
สำหรับโทนสีของกระเบื้อง ควรเลือกใช้เป็นโทนสีอ่อน เพื่อให้ภายในห้องดูกว้างขวางมากยิ่งขึ้นและไม่รู้สึกอึดอัด
เครดิต ข้อมูล
https://www.infinitydesign.in.th/
เครดิต รูปภาพ
https://www.piqsels.com/

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า