พื้นคอนกรีตสำเร็จรูปความหมายคือตัวพื้นคอนกรีตสำเร็จรูป ยกมาติดตั้งแล้วใช้งานเลยไม่ได้ ต้องมาทำอะไรบางอย่าง ที่หน้างานอีกขั้นตอนหนึ่ง แล้วถึงจะได้องค์ประกอบที่สำเร็จพร้อมใช้งาน พื้นสำเร็จรูปออกแบบมาพร้อมที่จะใช้งานแต่ยังใช้งานไม่ได้
พื้นสำเร็จรูปต้องประกอบด้วย 2 ส่วนหลักๆ
คือหนึ่งส่วนที่ผลิตมาจากโรงงานส่วนนี้ต้องมีคุณสมบัติที่แข็งแรงพอสมควร รับน้ำหนักตัวเองได้ ขนส่งแล้วไม่แตกไม่หักเพราะฉะนั้นผลิตที่โรงงานมันจะเร็วควบคุมคุณภาพง่าย เสร็จแล้วเอามาติดตั้งง่ายด้วย องค์ประกอบนี้เป็นองค์ประกอบหลักที่ถูกออกแบบมา
องค์ประกอบที่สองคือ พอมาติดตั้งหน้างานใช้ได้เลยไม่ได้แต่ต้องรับน้ำหนักระหว่างก่อสร้างได้ความหมายคือ เอาพื้นไปวาง แล้วต้องขึ้นไปเดินได้ขึ้นไปผูกเหล็กได้ ต้องแข็งแรงพอที่จะเอาคอนกรีตมาเทแล้วไม่หักแต่ยังรับน้ำหนักตามที่ออกแบบโดยสมบูรณ์ได้ดี ซึ่งหลักๆเขาเรียกเท Topping มาผูกเหล็ก เท Topping ตามที่ออกแบบมา พอมันแข็ง จับตัวเป็นเนื้อเดียวกันมันถึงสำเร็จรูปที่ใช้งานได้ ตามวัตถุประสงค์ที่ถูกออกแบบมา เพราะฉะนั้นมันถึงมี 2 ส่วน
ส่วนแรกคือถูกผลิตมาจากโรงงาน รับน้ำหนักตัวเองได้ ขนส่งตัวเองได้ ไม่แตก ไม่หัก เอามาติดตั้งแล้วไม่แตกไม่หักรับน้ำหนักการทำงานบนตัวมันเองได้ในระดับหนึ่ง พอมาประกอบส่วนที่ 2 เข้าไปใส่เหล็กตะแกรง Wire Mesh ผูกเหล็กต่างๆ เทคอนกรีตทับหน้าตาที่ออกแบบมาพอคอนกรีตทับหน้าได้กำลังแข็งตัวตามที่ออกแบบมา มันจะมีความแข็งแรงอีกระดับหนึ่งนั้นคือระดับที่เราต้องการ ในการออกแบบ เราจึงนิยามคอนกรีตประเภทนี้ หรือพื้นคอนกรีตประเภทนี้ว่า พื้นสำเร็จรูป
ตัวอย่างพื้นสำเร็จรูปที่นำไปใช้งาน
แบบที่ 1 แผ่นพื้นสำเร็จรูปท้องเรียบ หน้า 5 ซม. กว้าง 35 ซม. ยาวไม่เกิน 4 เมตร โดยปกติ อันนี้เวลาก่อสร้างบ้านจะเห็นเขาขายวางเรียงกันเป็นแถวๆ อันนี้แบบที่หนึ่ง คุ้นชินกันอยู่แล้วโดยเฉพาะบ้านพักอาศัย หรืออาคารขนาดเล็ก Span ไม่ยาวส่วนใหญ่ก็จะคลุมที่เรียกว่าระยะคานถึงคาน ประมาณไม่เกิน 4 เมตร เราก็ใช้ตัวนี้ แล้วก็รับน้ำหนักไม่เยอะมาก 100 – 200 กก./ตร.ม.
แบบที่ 2 ต้องการที่แข็งแรงมากว่านี้หน่อย อาจจะใช้ในงานห้างสรรพสินค้า โรงงานอุตสาหกรรม ที่คานถึงคาน 8 เมตร 10 เมตร หรือ 12 เมตร ก็ได้ อาจจะรับน้ำหนักถึง 500 กก./ตร.ม. 1,000 กก./ตร.ม. ก็ยังรับได้ แบบตรงนั้นก็ต้องใช้แผ่นพื้นสำเร็จรูปอีกแบบหนึ่งซึ่งเราอาจจะเคยเห็นที่เขาขนส่ง หรือที่ก่อสร้างคือ แผ่นพื้นสำเร็จรูป Hollow Core ก็จะมีความหนาตั้งแต่ 12 ซม. 6,10,12 ,15,25,30 ซม. แล้วมีรูตรงกลางเพื่อลดน้ำหนัก เขาจะออกแบบมาซึ่งทำงานเหมือนกันเลย พอมันใหญ่ขึ้น แข็งแรงขึ้น มันก็จะรับความยาวช่วงได้มากขึ้นรับน้ำหนักบนตัวมันได้มากขึ้น นอกนั้นหลักการเดียวกันกับพื้นสำเร็จรูปท้องเรียบ อันนั้นคือพื้น Hollow Core ส่วนใหญ่ที่เป็นคอนกรีตเราก็จะเจอสองแบบนี้
แต่เราจะเห็นอีกแบบหนึ่งที่เราจะเห็นบางทีเขาทำสะพานลอย Sky Walk จะเห็นว่าทำไมเขาเอาเมทัลชีทมาวาง แล้วเทคอนกรีตจริงๆ มันเป็นเหล็กเดียวกับเมทัลชีท เราเรียกระบบนี้ว่า Steel Deck แทนที่จะเอาแผ่นพื้นท้องเรียบ เขาก็เอาแผ่นที่เป็นลอนที่เป็นเหล็กเอามาวาง เสร็จแล้วก็จะมีเดือย เอา Wire Mesh วาง เสร็จแล้วเทปูน เหมือนกันพอเสร็จแล้วก็ใช้งานได้ตามปกติ เพราะฉะนั้นตรงนี้ก็จะเป็นแผ่นพื้นสำเร็จรูปอีกแบบหนึ่ง เพียงแต่ว่าตัวสำเร็จรูปจากโรงงาน เปลี่ยนจากคอนกรีตเป็นเหล็กเท่านั้น
ทำไมต้องใช้แบบนี้ แผ่นพื้นสำเร็จรูปผลิตจากโรงงานมาถึงวางบนคาน สิ่งที่หายไปในการก่อสร้างคือไม้แบบ ลองนึกภาพถ้าไม่เอาแผ่นพื้นสำเร็จรูปมาใช้ เราจะเทปูนด้วยการเอาคอนกรีตมาเท สมมุติชั้นสองช่างต้องตั้งตุ๊กตา ตุ๊กตาที่เป็นไม้ ไม่ใช่ตุ๊กตาเป็นตัว ต้องตั้งตุ๊กตาเสร็จแล้วต้องทำคานไม้ ตั้งไม้เสร็จแล้วต้องปูแผ่นไม้อัด เพื่อทำเป็นไม้แบบรองรับ ทำไม้แบบเสร็จแล้วค่อยผูกเหล็ก ผูกเหล็กเสร็จแล้วค่อยเทปูน แล้วต้องรออีกอย่างน้อย 14 วัน ถึงจะถอดไม้แบบข้างล่างได้ทำอะไรต่อไม่ได้เลย
พื้นสำเร็จรูป มีประโยชน์อย่างไร
1.เหมาะสมที่สุดคือมันเอามาแทนการใช้ไม้แบบไปเลย
2.ลดเวลาการใช้แรงงานคน ลดค่าแรง
ซึ่งพอมาเฉลี่ยกันแล้วพื้นสำเร็จรูปเหมือนจะแพงกว่า แต่จริงๆ พอมาชดเชยเรื่องเวลาและค่าแรงต่างๆ ค่าไม้แบบที่เอามาถัวเฉลี่ยกัน ไม่ได้แพงกว่าเลย เป็นทางเลือกที่ดีทางเลือกหนึ่ง
เครดิตคุยข้อมูล