เหล็กเป็นแร่ธาตุและมีส่วนสำคัญที่ใช้ในการก่อสร้าง และทำให้สิ่งก่อสร้างเป็นรูปเป็นร่าง และมีความคงทนแข็งแรง เหล็กแต่ละประเภทจะมีลักษณะแตกต่างกันไป
สามารถแบ่งได้ 2 ประเภทดังนี้
1.เหล็กเส้นกลม ช่างโดยทั่วไปมักจะเรียกเหล็กชนิดนี้ว่า เหล็ก RB ลักษณะภายนอกจะมีผิวเรียบเกลี้ยง หน้าตัดกลม ซึ่งที่มีขายกันอยู่ทั่วไป ใช้ในการยึดเหนื่ยวระหว่างเหล็กกับคอนกรีต ต้องมีการงอเหล็กเพื่อที่จะถ่ายแรงได้อย่างมีประสิทธิภาพ ส่วนมากมักจะใช้สำหรับงานโครงสร้าง เชน ปลอกเสา , ปลอกคาน , โครงถนน , งานก่อสร้างขนาดเล็กและขนาดกลาง เป็นต้น เหล็กชนิดนี้จะมีเส้นผ่าศูนย์กลางตั้งแต่ 6-25 มิลลิเมตร สามารถเลือกใช้งานได้ตามความเหมาะสมของงาน
มาตรฐานอุตสาหกรรม มอก.20-2559 ชั้นคุณภาพของเหล็กประเภทนี้คือ SR24 ที่เป็นที่รู้จักและนิยมใช้ คือ เหล็ก Tata Sitcon , บลกท , RSM , TDC ,
- RB 6 (เหล็กเส้นกลม 2 หุน) ใช้สำหรับงานก่อสร้างที่รับแรงไม่มาก นิยมใช้สำหรับทำปอกเสา และปอกคาน
- RB9 (เหล็กเส้นกลม 3 หุน) ใช้สำหรับงานก่อสร้างที่รับแรงไม่มาก คล้ายกับเหล็กเส้น 2 หุน
- RB12 (เหล็กเส้นกลม 4 หุน) ใช้สำหรับงานก่อสร้างทั่วไป แต่ไม่เน้นงานยึดเกาะ เพราะเหล็กมีลักษณะเรียบมน ทำให้ยึดเกาะปูนไม่ดีเท่าที่ควร ส่วนมากนิยมใช้กับงานกลึง เช่น งานกลึงหัวน็อตต่าง ๆ
- RB19 ใช้สำหรับงานทำถนน
- RB25 ใช้สำหรับทำเหล็กสตัท เกรียวเร่ง สำหรับงานยึดโครงป้ายขนาดใหญ่ สามารถรับแรง และน้ำหนักได้ดี
2.เหล็กข้ออ้อย เป็นเหล็กที่ใช้สำหรับงานก่อสร้าง เสริมคอนกรีตที่ต้องการโครงสร้างแข็งแรง เช่น อาคารสูง คอนโดมิเนียม ถนนคอนกรีต สะพาน เขื่อน สนามบิน บ่อหรือสระน้ำ เป็นต้น เป็นลักษณะเส้นกลมที่มีบั้ง ผิวของเหล็กจะมีลักษณะเป็นปล้อง ๆ อยู่ตลอดเส้น เหล็กข้ออ้อยจะรับแรงได้มากกว่าเหล็กเส้นกลมเรียบ จะให้ผลที่ดีต่อการรับน้ำหนักที่มากกว่า
การเลือกใช้ชนิดของเหล็กเส้นข้ออ้อย SD30 , SD40 และ SD50 ขึ้นอยู่กับชนิดโครงสร้างเป็นสำคัญ โดยเหล็กข้ออ้อยมีเส้นผ่านศูนย์กลางที่ขายกันอยู่ทั่วไป คือ 12 และ 16 มม. สำหรับขนาดอื่นได้แก่ 10, 20 , 25 และ 28 ต้องสั่งซื้อพิเศษ โดยเหล็กข้ออ้อยแต่ละขนาดจะมีความยาวอยู่ที่ 10 และ 12 เมตรเช่นเดียวกับเหล็กเส้นกลม
มาตรฐานของเหล็กเส้นมี 2 ประเภท คือ
- เหล็กเต็มหรือเหล็กโรงใหญ่ หมายถึง เหล็กที่มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง และน้ำหนักของเหล็กได้มาตรฐาน มอก. 24-2559
- เหล็กเบาหรือเหล็กโรงเล็ก เป็นเหล็กทีผลิตให้มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางและน้ำหนักต่ำกว่ามาตรฐาน มอก. มักเป็นเหล็กรีดซ้ำ เหล็กเบาจะมีราคาต่ำกว่าเหล็กเต็ม ซึ่งจะทำให้เกิดการประหยัดค่าใช้จ่าย แต่อาจก่อให้เกิดอันตราย เพราะอาจไม่สามารถรับน้ำหนักตามที่แบบกำหนดไว้ได้