งานก่อสร้างจะเสร็จสมบูรณ์ได้ต้องอาศัยปูนซีเมนต์เป็นหลักทั้งสิ้น การคำนวณในการใช้ปูนซีเมนต์เพื่อการใช้งานเป็นเรื่องสำคัญเช่นกัน ช่างก่อสร้างที่มีฝีมือต้องสามารถคำนวณและสั่งซื้อปูนซีเมนต์มาใช้งานได้อย่างพอดีไม่สั่งมามากหรือน้อยไป เนื่องจากปูนเป็นวัสดุก่อสร้างที่มีอายุการใช้งานที่จำกัด แต่ไม่ใช่เรื่องง่ายที่จะทำได้ ส่วนใหญ่แล้วมักขาด หรือเกิน ซึ่งถ้าขาดก็ยังสามารถสั่งเพิ่มได้ แต่ถ้ามากเกินพอดีและงานก็เสร็จแล้ว จะคืนให้ผู้ผลิตหรือทางร้านวัสดุก็คงจะยาก จะขายต่อก็คงไม่ได้ราคา
ดังนั้นอาจต้องเก็บไว้ใช้กับงานต่อไป และถ้าต้องเก็บไว้ใช้กับงานอื่น หรืองานต่อไป จะมีวิธีเก็บอย่างไรให้ปูนซีเมนต์ยังคงคุณภาพดี และสามารถที่จะใช้งานได้ การเก็บรักษาปูนซีเมนต้องระวังความชื้นเนื่องจากความชื้นอาจทำให้ปูนแข็งตัวและไม่สามารถใช้งานได้ เพื่อให้ปูนยังคงคุณภาพที่ดีและสามารถใช้งานได้ ควรมีวิธีดังนี้
- ต้องเตรียมสถานที่เก็บปูนอย่างเหมาะสม โดนจัดให้มีหลังคากันแดด กันฝน ให้มีผนังทั้งสี่ด้าน ทั้งนี้เพื่อการป้องกันความชื้นและสภาพอากาศเย็นที่อาจเข้ามาจากภายนอกได้ และอาจมาทำให้ปูนแข็งตัวหรือหมดสภาพการใช้งาน
- ต้องให้ปูนวางอยู่บนฐาน ที่ทำจากไม้หรือพาเลทให้อยู่สูงจากพื้นประมารณ 1 ฟุต เพื่อการป้องกันความชื้นที่อาจระเหยขึ้นมาจากพื้นได้ ยิ่งถ้าเป็นพื้นที่เทปูนหรือพื้นดินธรรมดาจะยิ่งไม่สมควรวางและต้องใช้ไม้หรือพาเลทรองไว้อีกชั้นหนึ่ง
- วิธีวางถุงปูนให้ซ้อนกันประมาณ 5 ชั้น แล้วให้วางสลับกันไปมาอีกทีละ 5 ขั้น จนกว่าจะสมควร
- ควรแยกประเภทของปูนห้ามวางรวมกัน เพื่อการหยิบใช้งานได้สะดวก โดยวางปูนที่มีอายุการใช้งานเหลือน้อยไว้ด้านบน เรียกตามความใหม่-เก่าของปูนให้ดี
- ต้องวางชั้นปูนให้อยู่ห่างจากผนังห้องเก็บปูนอย่างน้อย 1 เมตร เพื่อความสะดวกในการเดิน หรือต้องแบกไปใช้งาน
- การเก็บปูนซีเมนต์ไว้กลางแจ้งหรือไม่มีห้องเก็บอย่างถาวร ควรวางเรียงกันให้เป็นชั้นและต้องอยู่บนฐานไม้หรือพาเลทสูงประมาณ 1 ฟุต ใช้ผ้าใบหรือพลาสติดคลุมไว้ให้มิดชิดเพื่อป้องกันฝน น้ำค้าง และความชื้นจากอากาศ ซึ่งจะทำให้ปูนแข็งตัวและเสื่อมคุณภาพ และไม่ควรเก็บไว้เกินกว่า 2 เดือน ต้องเก็บไว้ในที่แห้งเท่านั้น