การเลือกซื้อเหล็กข้ออ้อย

เหล็กเส้น หรือ เหล็กเสริม คือ วัสดุสำหรับใช้งานคอนกรีตเสริมเหล็กและงานก่ออิฐทั่วไป โดยใช้ในการเพิ่มความสามารถในการรับแรงกับโครงสร้าง
โดยทั่วไปจะแบ่งเหล็กเส้นเป็น 2 ประเภท คือ
1.เหล็กกลมผิวเรียบ SR24 มีกำลังรับแรงดึงที่จุดครากไม่น้อยกว่า 2400 ksc มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางขนาดต่าง ๆ เช่น RB6 RB9 RB12 RB15 เนื่องจากผิวเหล็กที่มีลักษณะกลมเรียบ จึงทำให้แรงยึดเหนี่ยวระหว่างผิวเหล็กกับผิวคอนกรีตไม่ดีจึงต้องมีการงอขอเพื่อให้สามารถถ่ายเทแรงได้อย่างมีประสิทธิภาพ
2.เหล็กข้ออ้อย SD30 SD40 SD50 มีกำลังรับแรงดึงที่จุดครากไม่น้อยกว่า 3000 4000 5000 ksc ตามลำดับ โดยปกติจะมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง เช่น DB10 DB12 DB16 ผิวของเหล็กเส้นจะมีขนาดเป็นปล้อง เพื่อเพิ่มแรงยึดเหนี่ยวให้เหล็กกับคอนกรีตมากขึ้น

การเลือกใช้ชนิดของเหล็กเส้นข้ออ้อย SD30 , SD40 และ SD50 ขึ้นอยู่กับชนิดของโครงสร้างเป็นสำคัญ ลักษณะของเหล็กเส้นข้ออ้อยที่ดี ต้องมีระยะบั้งที่เท่ากันและสม่ำเสมอตลอดทั้งเส้น ไม่มีสนิมรอยตำหนิ ไม่มีรอยปริหรือแตกร้าว ความยาวโดยปกติที่ขายกันตามท้องตลาด คือ 10 เมตร หรืออาจสั่งพิเศษ เช่น 12 เมตร หรือมากกว่านั้นก็ต้องสั่งทำพิเศษ

ประโยชน์ของเหล็กข้ออ้อย
ใช้ในการก่อสร้างโครงสร้างเสริมเหล็กคอนกรีต ในการก่อสร้างแต่ละครั้ง ต้องมีการใช้งานควบคู่กับเหล็กเส้นกลมด้วย โดยทั้งนี้และทั้งนั้นขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของวิศวกรประจำโครงการด้วย แต่โดยส่วนมากจะใช้เหล็กข้ออ้อยเป็นหลัก เพราะรับแรงได้ดีกว่าเหล็กเส้นกลม
เหล็กข้ออ้อย เป็นเหล็กที่มีแรงยึดเกาะที่ผิวสูง เหมาะสำหรับงานคอนกรีตเสริมเหล็ก ที่ต้องการความแข็งแรงสูง เช่น เขื่อน , สะพาน , หรืองานก่อสร้างใด ๆ ที่ต้องรองรับแรงอัดมาก ๆ และตึกที่มีความสูงมาก ๆ

การเลือกซื้อเหล็กข้ออ้อยที่ดีดูได้จากอะไรบ้าง

  • เครื่องหมาย มอก.
  • ขนาด
  • ความยาว
  • บริษัท ผู้ผลิต ประเภทสินค้า
  • ชั้นคุณภาพ
  • วันเวลาที่ผลิต

ขั้นตอนการผลิตเหล็กข้ออ้อย
การผลิตเหล็กข้ออ้อยในปัจจุบันนั้น ต้องเป็นไปตามมาตรฐานการบังคับ มอก.24-2548 ซึ่งเป็นการปรับปรุงคุณภาพการผลิตมาจาก มอก.24-2536 ประการสำคัญของการเปลี่ยนแปลงนี้คือ อนุญาตให้มีการผลิตโดยผ่านกรรมวิธีทางความร้อน โดยผู้ผลิตจะต้องทำสัญลักษณ์ “T” ประทับเป็นตัวนูนบนเนื้อเหล็ก เป็นการถาวรต่อจากชั้นคุณภาพเหล็ก

ประเภทของเหล็กแบ่งตามชั้นคุณภาพของเหล็ก ดังนี้
SD30 คือ เหล็กที่ต้องมีกำลังจุดคลากไม่ต่ำกว่า 3,000 กิโลกรัม/ตารางเซนติเมตร
SD40 คือ เหล็กที่ต้องมีกำลังจุดคลากไม่ต่ำกว่า 4,000 กิโลกรัม/ตารางเซนติเมตร
SD50 คือ เหล็กที่ต้องมีกำลังจุดคลากไม่ต่ำกว่า 5,000 กิโลกรัม/ตารางเซนติเมตร

วิธีตรวจเช็คคุณภาพปูนหมดอายุ

ปูนซีเมนต์เป็นวัสดุในการก่อสร้างที่สำคัญ ไม่ว่าจะเป็นโครงสร้างอาคาร ก่ออิฐ การเทพื้น หรือการฉาบต่าง ๆ ซึ่งจะให้สิ่งก่อสร้างเหล่านั้นแข็งแรง และมีอายุการใช้งานที่ยาวนาน จำเป็นต้องใช้ปูนซีเมนต์ที่ดี และยังอยู่ในอายุการใช้งานที่สมบูรณ์ แต่ถ้าปูนซีเมนต์หมดอายุแล้ว ก็จะทำให้การแข็งตัว เพิ่อการใช้งานลดลง ซึ่งจะต้องมีวิธีดูว่ายังอยู่ในอายุการใช้งานที่มีคุณภาพ ดังนี้

วิธีตรวจเช็คคุณภาพปูนซีเมนต์ เพื่อการใช้งานที่คงทนถาวร เรามีวิธีตรวจสอบได้ง่าย ๆ ดังนี้
1. การทดสอบสีของปูน ปูนซีเมนต์ที่มีคุณภาพดี และยังอยู่ในอายุการใช้งานต้องมีสีเทา แกมเขียว สีที่เห็นเหล่านี้จะสามารถประเมินคุณภาพของปูนซีเมนต์ได้แม้ไม่มากนัก แต่ก็ยังดีว่าปูนที่มีสีอื่น ซึ่งอาจหมดอายุการใช้งานไปแล้ว และยังสามารถทราบถึงส่วนผสมบางอย่างได้อีกด้วย เช่น มีส่วนผสมของปูนขาว หรือดินเหนียวที่ไม่ได้สัดส่วน ซึ่งสีของปูนจะไม่เป็นสีเทาแกมเขียว เมื่อปูนหมดอายุ
2. ดูจากที่ปูนยึดเกาะกัน ปูนที่มีคุณภาพดีต้องมีลักษณะเป็นผงไม่เกาะกันเป็นก้อน ถ้าเป็นก้อนแสดงว่ามีความชื้นปนอยู่ ควรตรวจดูที่ถุงบรรจุ อาจแตกก็ได้
3. ทดสอบด้วยการวัดอุณหภูมิ โดยการใช้มือล้วงเข้าไปในเนื้อปูนเพื่อตรวจสอบ ถ้าปูนยังมีคุณภาพดีจะให้ความเย็นที่รู้สึกได้
4. ทดสอบด้วยการใช้น้ำ โดยการนำผงปูนมาโรยลงในอ่างน้ำ ปูนที่ดีจะต้องจมลงนอนก้นอ่าง ถ้าลอยอยู่เหนือผิวน้ำแสดงว่ามีคูณภาพที่ไม่ดีแล้ว
5. ให้ดูที่วันผลิตของปูน ความแข็งตัวของปูนซีเมนต์เป็นคุณสมบัติเฉพาะ แต่ก็จะเสื่อมลงตามกาลเวลา ดังนั้นต้องเช็ควันผลิตซึ่งสำคัญมากซึ่งต้องมีอายุไม่เกิน 3 เดือน ถ้าเกินกว่านี่อาจทำให้คุณภาพของปูนลดลงตามลำดับ โดยสูงสุดอาจลดลงได้ถึง 50% เมื่อเวลาผ่านไป 1 ปี
6. ทำการถูด้วยฝ่ามือเพื่อทดสอบคุณภาพ วิธีง่าย ๆ อีกวิธีหนึ่งได้แก่ การนำปูนมาถูด้วยมือ หากรู้สึกว่ามีความนุ่มและลื่นเหมือนเป็นเนื้อเดียวกัน นั่นคือปูนยังมีคุณภาพที่ดีในการใช้งาน แต่ถ้าถูกับมือแล้วรู้สึกว่าไม่เรียบ ไม่ละเอียดและไม่ลื่น นั่นก็แสดงว่าปูนนั้นขาดคุณภาพที่ดีสำหรับการนำมาใช้งานแล้ว

วิธีทดสอบหรือตรวจสอบคุณภาพของปูนซีเมนต์ง่าย ๆ นี้ ผู้ใช้งาน เจ้าของงาน หรือช่างก่อสร้าง ก็สามารถทำได้ด้วยตนเอง โดยไม่ต้องเข้าห้องแลป สามารถทำได้เองที่ไซต์งานทันที และจะรู้ผลของการทดสอบปูนซีเมนต์ได้อย่างคร่าว ๆ ก่อนที่จะใช้งานปูนซีเมนต์ ได้ทันทีเช่นกัน

การเลือกกระเบื้องมุงหลังคาให้เหมาะสมกับบ้าน

หลังคาบ้านเป็นส่วนที่สำคัญที่สุดอย่างหนึ่งของบ้าน เนื่องจากเป็นส่วนที่คลุมแดด คลุมฝน การเลือกหลังคาบ้านให้เหมาะสมกับตัวบ้านจึงเป็นเรื่องใหญ่ ยิ่งการเลือกกระเบื้องมุงหลังคาด้วยแล้วจะยิ่งใหญ่กว่า เพราะนอกจากจะทำให้บ้านดูสวยงามแล้ว ยังต้องคำนึงถึงความคงทนของกระเบื้อง ความเหมาะสมด้านราคาและ เหมาะสมกับตัวบ้าน

การเลือกกระเบื้องมุงหลังคาให้เข้ากับตัวบ้าน
1.  ทรงหางว่าวที่เป็นรูปข้าวหลามตัด จะเหมาะกับบ้านที่มีรูปทรงย้อนยุคมากกว่าบ้านทรงสมัยใหม่
2. กระเบื้องลายไม้ เพื่อการมุงหลังคาบ้านสไตล์แตกต่าง ที่เลียนแบบธรรมชาติในการก่อสร้างได้ดีกว่า
3. กระเบื้องหลังคาแผ่นเรียบ จะเหมาะกับบ้านสไตล์โมเดิร์นหรือบ้านที่มีความร่วมสมัย มากกว่าบ้านทรงโบราณ
4. กระเบื้องหลังคารอนคู่ หรือรอนเดี่ยว จะเหมาะสำหรับบ้านทรงร่วมสมัย หรือบ้านที่มีรูปทรงคลาสสิก
5. เรื่องสีของกระเบื้องก็มีความสำคัญไม่น้อย ควรเลือกให้มีสีที่เหมาะสมกับสีของบ้านด้วย จะทำให้ดูดีกว่า เช่น บ้านสีขาวหรือสีควันบุหรี่สีครีม ถ้าใช้หลังคาสีสว่าง ๆ ก็จะยิ่งทำให้บ้านดูโปร่ง แต่ถ้าใช้สีทึบก็จะทำให้บ้านดูลึกลับ และมืดทึม เป็นต้น

การเลือกวัสดุกระเบื้องในการมุงหลังคาบ้านให้ตอบโจทย์ และลงตัว
หลังคาบ้านไม่ใช่เรื่องง่าย ๆ ที่จะเปลี่ยนกันได้บ่อย ๆ และเป็นสิ่งที่ไม่ควรทำไม่ว่าจะเป็นบ้านหลังเล็กหรือใหญ่ เพราะการเปลี่ยนหลังคาแต่ละทีเป็นเรื่องใหญ่ และต้องใช้เงินจำนวนมาก วัสดุหลังคาแต่ละชนิดก็จะมีความสวยงาม และคุณสมบัติที่ต่างกัน เช่น หลังคาที่ทำมาจากคอนกรีต จะมีจุดเด่นที่เนื้อของวัสดุ และความคงทน กระเบื้องหลังคาไฟเบอร์ซีเมนต์ จะมีรูปทรงที่แปลงทันสมัย และสวยงาม กระเบื้องเซรามิก จะมีพื้นผิวมันทำให้เวลาฝนตกลงมาจะชะล้างได้ดีกว่า สีที่เคลือบไว้จะติดทนนานมีอายุการใช้งานหลายสิบปี ไม่ทำให้ดูว่าเก่า

การเลือกกระเบื้องมุงหลังคาบ้าน ต้องดูที่รูปทรงของหลังคาบ้าน
1. กระเบื้องหลังคาบ้านแต่ละอย่างจะมีองศาในการมุงที่ต่างกัน ทั้งนี้เพื่อการระบายน้ำเวลาฝนตก และไม่รั่วซึม โดยทั่วไปจะใช้กระบื้องรอนเพื่อการมุงกับหลังคาบ้านที่มีมุมองศาที่ไม่ชันมาก แต่สำหรับบ้านทรงโมเดิร์นมักจะนิยมหลังคาทรงแบน และมีองศาที่ไม่ชันมาก หรือใช้กระเบื้องที่ผลิตจาก เมทัลชีท หรือหลังคาเหล็กรีดให้เป็นรอนก็ได้ โดยต้องคำนึงถึงเรื่องฉนวนกันวามร้อน และเรื่องเสียงรบกวนจากความแรงของฝนเวลาตกกระทบด้วย เพราะอาจดังมาก

2. การเลือกกระเบี้องมุงหลังคาบ้านพร้อมอุปกรณ์เสริม หลังคาบ้านบางรุ่นจะมีอุปกรณ์เสริมมาด้วย เช่น อุปกรณ์รับสัญญาณดาวเทียม เครื่องบอกทิศทางลม หรือช่องโปร่งแสงสำหรับสกายไลท์ แผ่นปิดกันนก หรือแม้แต่ชุดอุปกรณ์ติดตั้งระบบโซล่าเซล และอื่น ๆ เป็นต้น ซึ่งอุปกรณ์เสริมเหล่านี้จะใช้หรือไม่ขึ้นอยู่กับช่าง และเจ้าของบ้าน แต่หางต้องการที่จะใช้ควรปรึกษาผู้ผลิตเพื่อการเลือกใช้ให้ถูกวิธี และจะได้ไม่เสียเปล่า แต่ทั้งนี้ก็คงต้องให้เข้ากับตัวบ้าน และรูปทรงของหลังคาด้วย

เก็บรักษาปูนอย่างไร เมื่อยังใช้ปูนไม่หมด

งานก่อสร้างจะเสร็จสมบูรณ์ได้ต้องอาศัยปูนซีเมนต์เป็นหลักทั้งสิ้น การคำนวณในการใช้ปูนซีเมนต์เพื่อการใช้งานเป็นเรื่องสำคัญเช่นกัน ช่างก่อสร้างที่มีฝีมือต้องสามารถคำนวณและสั่งซื้อปูนซีเมนต์มาใช้งานได้อย่างพอดีไม่สั่งมามากหรือน้อยไป เนื่องจากปูนเป็นวัสดุก่อสร้างที่มีอายุการใช้งานที่จำกัด แต่ไม่ใช่เรื่องง่ายที่จะทำได้ ส่วนใหญ่แล้วมักขาด หรือเกิน ซึ่งถ้าขาดก็ยังสามารถสั่งเพิ่มได้ แต่ถ้ามากเกินพอดีและงานก็เสร็จแล้ว จะคืนให้ผู้ผลิตหรือทางร้านวัสดุก็คงจะยาก จะขายต่อก็คงไม่ได้ราคา

ดังนั้นอาจต้องเก็บไว้ใช้กับงานต่อไป และถ้าต้องเก็บไว้ใช้กับงานอื่น หรืองานต่อไป จะมีวิธีเก็บอย่างไรให้ปูนซีเมนต์ยังคงคุณภาพดี และสามารถที่จะใช้งานได้ การเก็บรักษาปูนซีเมนต้องระวังความชื้นเนื่องจากความชื้นอาจทำให้ปูนแข็งตัวและไม่สามารถใช้งานได้ เพื่อให้ปูนยังคงคุณภาพที่ดีและสามารถใช้งานได้ ควรมีวิธีดังนี้

  1. ต้องเตรียมสถานที่เก็บปูนอย่างเหมาะสม โดนจัดให้มีหลังคากันแดด กันฝน ให้มีผนังทั้งสี่ด้าน ทั้งนี้เพื่อการป้องกันความชื้นและสภาพอากาศเย็นที่อาจเข้ามาจากภายนอกได้ และอาจมาทำให้ปูนแข็งตัวหรือหมดสภาพการใช้งาน
  2. ต้องให้ปูนวางอยู่บนฐาน ที่ทำจากไม้หรือพาเลทให้อยู่สูงจากพื้นประมารณ 1 ฟุต เพื่อการป้องกันความชื้นที่อาจระเหยขึ้นมาจากพื้นได้ ยิ่งถ้าเป็นพื้นที่เทปูนหรือพื้นดินธรรมดาจะยิ่งไม่สมควรวางและต้องใช้ไม้หรือพาเลทรองไว้อีกชั้นหนึ่ง
  3. วิธีวางถุงปูนให้ซ้อนกันประมาณ 5 ชั้น แล้วให้วางสลับกันไปมาอีกทีละ 5 ขั้น จนกว่าจะสมควร
  4. ควรแยกประเภทของปูนห้ามวางรวมกัน เพื่อการหยิบใช้งานได้สะดวก โดยวางปูนที่มีอายุการใช้งานเหลือน้อยไว้ด้านบน เรียกตามความใหม่-เก่าของปูนให้ดี
  5. ต้องวางชั้นปูนให้อยู่ห่างจากผนังห้องเก็บปูนอย่างน้อย 1 เมตร เพื่อความสะดวกในการเดิน หรือต้องแบกไปใช้งาน
  6. การเก็บปูนซีเมนต์ไว้กลางแจ้งหรือไม่มีห้องเก็บอย่างถาวร ควรวางเรียงกันให้เป็นชั้นและต้องอยู่บนฐานไม้หรือพาเลทสูงประมาณ 1 ฟุต ใช้ผ้าใบหรือพลาสติดคลุมไว้ให้มิดชิดเพื่อป้องกันฝน น้ำค้าง และความชื้นจากอากาศ ซึ่งจะทำให้ปูนแข็งตัวและเสื่อมคุณภาพ และไม่ควรเก็บไว้เกินกว่า 2 เดือน ต้องเก็บไว้ในที่แห้งเท่านั้น

รู้จักกับเหล็กเส้นแต่ละประเภท

เหล็กเป็นแร่ธาตุและมีส่วนสำคัญที่ใช้ในการก่อสร้าง และทำให้สิ่งก่อสร้างเป็นรูปเป็นร่าง และมีความคงทนแข็งแรง เหล็กแต่ละประเภทจะมีลักษณะแตกต่างกันไป

สามารถแบ่งได้ 2 ประเภทดังนี้
1.เหล็กเส้นกลม ช่างโดยทั่วไปมักจะเรียกเหล็กชนิดนี้ว่า เหล็ก RB ลักษณะภายนอกจะมีผิวเรียบเกลี้ยง หน้าตัดกลม ซึ่งที่มีขายกันอยู่ทั่วไป ใช้ในการยึดเหนื่ยวระหว่างเหล็กกับคอนกรีต ต้องมีการงอเหล็กเพื่อที่จะถ่ายแรงได้อย่างมีประสิทธิภาพ ส่วนมากมักจะใช้สำหรับงานโครงสร้าง เชน ปลอกเสา , ปลอกคาน , โครงถนน , งานก่อสร้างขนาดเล็กและขนาดกลาง เป็นต้น เหล็กชนิดนี้จะมีเส้นผ่าศูนย์กลางตั้งแต่ 6-25 มิลลิเมตร สามารถเลือกใช้งานได้ตามความเหมาะสมของงาน

มาตรฐานอุตสาหกรรม มอก.20-2559 ชั้นคุณภาพของเหล็กประเภทนี้คือ SR24 ที่เป็นที่รู้จักและนิยมใช้ คือ เหล็ก Tata Sitcon , บลกท , RSM , TDC ,

  • RB 6 (เหล็กเส้นกลม 2 หุน) ใช้สำหรับงานก่อสร้างที่รับแรงไม่มาก นิยมใช้สำหรับทำปอกเสา และปอกคาน
  • RB9 (เหล็กเส้นกลม 3 หุน) ใช้สำหรับงานก่อสร้างที่รับแรงไม่มาก คล้ายกับเหล็กเส้น 2 หุน
  • RB12 (เหล็กเส้นกลม 4 หุน) ใช้สำหรับงานก่อสร้างทั่วไป แต่ไม่เน้นงานยึดเกาะ เพราะเหล็กมีลักษณะเรียบมน ทำให้ยึดเกาะปูนไม่ดีเท่าที่ควร ส่วนมากนิยมใช้กับงานกลึง เช่น งานกลึงหัวน็อตต่าง ๆ
  • RB19 ใช้สำหรับงานทำถนน
  • RB25 ใช้สำหรับทำเหล็กสตัท เกรียวเร่ง สำหรับงานยึดโครงป้ายขนาดใหญ่ สามารถรับแรง และน้ำหนักได้ดี

2.เหล็กข้ออ้อย เป็นเหล็กที่ใช้สำหรับงานก่อสร้าง เสริมคอนกรีตที่ต้องการโครงสร้างแข็งแรง เช่น อาคารสูง คอนโดมิเนียม ถนนคอนกรีต สะพาน เขื่อน สนามบิน บ่อหรือสระน้ำ เป็นต้น เป็นลักษณะเส้นกลมที่มีบั้ง ผิวของเหล็กจะมีลักษณะเป็นปล้อง ๆ อยู่ตลอดเส้น เหล็กข้ออ้อยจะรับแรงได้มากกว่าเหล็กเส้นกลมเรียบ จะให้ผลที่ดีต่อการรับน้ำหนักที่มากกว่า

การเลือกใช้ชนิดของเหล็กเส้นข้ออ้อย SD30 , SD40 และ SD50 ขึ้นอยู่กับชนิดโครงสร้างเป็นสำคัญ โดยเหล็กข้ออ้อยมีเส้นผ่านศูนย์กลางที่ขายกันอยู่ทั่วไป คือ 12 และ 16 มม. สำหรับขนาดอื่นได้แก่ 10, 20 , 25 และ 28 ต้องสั่งซื้อพิเศษ โดยเหล็กข้ออ้อยแต่ละขนาดจะมีความยาวอยู่ที่ 10 และ 12 เมตรเช่นเดียวกับเหล็กเส้นกลม
มาตรฐานของเหล็กเส้นมี 2 ประเภท คือ

  • เหล็กเต็มหรือเหล็กโรงใหญ่ หมายถึง เหล็กที่มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง และน้ำหนักของเหล็กได้มาตรฐาน มอก. 24-2559
  • เหล็กเบาหรือเหล็กโรงเล็ก เป็นเหล็กทีผลิตให้มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางและน้ำหนักต่ำกว่ามาตรฐาน มอก. มักเป็นเหล็กรีดซ้ำ เหล็กเบาจะมีราคาต่ำกว่าเหล็กเต็ม ซึ่งจะทำให้เกิดการประหยัดค่าใช้จ่าย แต่อาจก่อให้เกิดอันตราย เพราะอาจไม่สามารถรับน้ำหนักตามที่แบบกำหนดไว้ได้

ทำความรู้จัก ปูนนอนชริ้งค์ 

ปูนนอนชริ้งค์ แปลตรงตัวว่า ไม่หดตัว เป็นปูนอเนกประสงค์สำหรับงานซ่อมแซมต่างๆ และยังสามารถใช้สร้างงานคอนกรีตที่ต้องการความแข็งแกร่งเป็นพิเศษได้อีกด้วย
แบ่งเป็น 3 ประเภท
1.สำหรับชิ้นงานคอนกรีต เช่น ฐานคอนกรีตรับแรง แท่น หรือฐานเสาต่างๆ
2.งานซ่อมแซมโครงสร้าง เช่น เสา คาน พื้นคอนกรีต จากปัญหาเรื่องคอนกรีตเกิดรูพรุนขณะหล่อชิ้นงานนั้นๆ การแตกร้าวเล็กน้อยที่ไม่เกิดผลต่อการรับแรง และงานซ่อมแซมรอยสกัดฝังท่อ
3.งานซ่อมแซมผิวปูนฉาบ ผิวปูนปรับระดับพื้นจากปัญหาเรื่องปูนแตกล่อนต่างๆ
เครดิตข้อมูล
100 เรื่องต้องรู้เมื่อมีบ้าน

ทราย 3 ประเภท สำหรับการใช้ในงานก่อสร้าง

ทรายผสมปูน ก็คือ วัสดุก่อสร้างอีกชนิดหนึ่งที่จำเป็นต้องใช้ในงานก่อสร้างบ้าน แต่หลักๆแล้วทรายที่เอามาใช้ในงานก่อสร้าง ก็จะมีอยู่ 3 ประเภท

 

1. ทรายหยาบ ทรายชนิดนี้จะมีลักษณะเม็ดหยาบมีเม็ดกรวดเล็กๆปนอยู่ เป็นทรายผสมปูน เหมาะสำหรับผสมในคอนกรีตที่ต้องการการต้านทางกำลังสูง  เช่น หล่อเสา ,คาน, พื้น ฯ (งานโครงสร้าง)  งานสะพาน งานอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก

 

2. ทรายละเอียด หรือ Find Granular Sand ใช้ในการผสมปูนฉาบหน้าคอนกรีต ทำบัว ทำลวดลายต่างๆ สนามกอล์ฟ
ทรายประเภทนี้มีเม็ดละเอียดหรือเม็ดเล็กกว่าทรายหยาบ เป็นทรายผสมปูนที่เหมาะสำหรับนำมาผสมปูนเพื่อฉาบผนัง หรือจะนำมาผสมปูนเพื่อก่ออิฐก็ได้(แต่ไม่ค่อยนิยมนำมาผสมปูนก่ออิฐ เนื่องจากเม็ดทรายจะเล็กละเอียดเมื่อก่อผนังบ้านสูงขึ้นไปก็มีโอกาสจะยุบหรือล้มลงมาได้ในขณะก่ออิฐ) ส่วนเหตุผลที่ว่าทำไมต้องเอาทรายละเอียดมาใช้ผสมปูนเพื่อฉาบผนัง ใช้ทรายหยาบผสมปูนฉาบไม่ได้หรือ? สาเหตุก็เพราะว่า ทรายละเอียดเมื่อผสมปูนสำหรับงานฉาบผนัง เมื่อถึงขั้นตอนการปั่นปูนให้ผนังเรียบ ทรายละเอียดมันจะปั่นให้เรียบและเนียนได้ง่ายกว่าทรายหยาบ

3. ทรายถม หรือ Fill Sand หรือ อีกชื่อคือ ทรายขี้เป็ด    ทรายชนิดนี้จะมีลักษณะสีออกน้ำตาลเข้มๆหน่อย พูดง่ายๆว่าคล้ายดินเข้าไปทุกที จะมีดินผสมอยู่ค่อนข้างมาก ไม่นิยมเอามาใช้เป็นทรายผสมปูนเพื่อสร้างบ้านทุกกรณี ไม่ว่าจะผสมปูนอะไรหรือส่วนไหนก็ไม่นิยมทั้งนั้น(ไม่เหมาะ) งานที่เหมาะกับการนำทรายชนิดนี้ไปใช้ก็คือ ใช้ถมครับ ตามชื่อของมันนั่นแหละ เอาไว้ถมปรับพื้นที่รอบๆบ้าน หรือถมรองพื้นก่อนเทคอนกรีต หรือถมรอบๆท่อระบาย,ถมรอบๆถังบำบัดน้ำเสียเพื่อช่วยซับแรงกระแทกหรือแรงอัดจากด้านข้างใช้สำหรับปรับผิว หรือ เทพื้น หรือใส่ถุงกันน้ำท่วม ถมที่ และ ถมถนน

 

เครดิตข้อมูลและภาพ
http://www.trueplookpanya.com/
https://www.geograph.org.uk/

รู้จักคอนกรีต 5 ประเภทก่อนเลือกใช้

คอนกรีต หรือปูนซีเมนต์ เป็นวัสดุที่ใช้ในการก่อสร้างชนิดหนึ่ง ปัจจุบันนี้มีคอนกรีตอยู่มากมาย จึงต้องหาความรู้เพื่อนำมาใช้งาน
คอนกรีตที่พร้อมใช้ ต้องอยู่ในสภาพเหลว เพื่อสะดวกในการเทในแบบ เมื่อแข็งตัวจึงจะแกะแบบออกได้ และใช้เป็นโครงสร้างอาคารหรือแบบที่ต้องการ โดยต้องมีเหล็กที่สามารถรับแรงอัดและดึงได้สูงเป็นโครงสร้างอยู่ภายใน ซึ่งจะใช้งานได้ตามต้องการ

คอนกรีตสามารถแบ่งออกได้หลายประเภท เนื่องจากส่วนผสมที่เป็น ผงซีเมนต์ จะมีคุณสมบัติที่ต่างกัน โดยทั่วไปแล้วจะแบ่งออกได้เป็น 5 ประเภท ดังนี้
คอนกรีตประเภทที่ 1 ประเภทที่ 3 และประเภทที่ 5 คือ ซีเมนต์สำหรับโครงสร้างที่ป้องกันการกัดกร่อน เหมาะกับโครงสร้างที่อยู่ใกล้ทะเล หรือในทะเลที่มีความเค็มสูง ซึ่งต้องสามารถทนการกัดกร่อนได้เป็นอย่างดี

นอกจากนั้นยังมีซีเมนต์อีกประเภทหนึ่งที่ไม่เหมาะกับการใช้งานทำโครงสร้าง เนื่องจากมีกำลังอัดที่ต่ำ แต่เหมาะกับการให้งานฉาบก่อสร้างมากกว่าดังนั้นซีเมนต์ที่ขายอยู่ที่ร้านวัสดุจะมีให้เลือกเพียง 2 ประเภทเท่านั้น ได้แก่

ซีเมนประเภทที่ 1 หรือ ซีเมนต์ปอทแลนด์ สำหรับโครงสร้าง และ ซีเมนต์ที่ใช้สำหรับงานก่อฉาบ ยี่ห้อปูนที่มีอยู่ในตลาดปัจจุบันมีอยู่ 2 บริษัทใหญ่ ๆ คือ กลุ่มบริษัทปูนซีเมนต์ไทย และกลุ่มบริษัททีพีไอ กลุ่มของปูนซีเมนต์ไทย ปูนสำหรับโครงสร้างคือปูนตราช้าง และสำหรับก่อฉาบคือปูนตราเสือ
ส่วนกลุ่มทีพีไอ ปูนสำหรับโครงสร้างคือปูนแดง ส่วนที่ใช้ก่อฉาบคือปูนเขียว ส่วนของบริษัทอื่น ๆ ก็มีปูน 2 ประเภทเช่นกัน ถ้าเจ้าของงานก่อสร้างต้องซื้อปูนให้ผู้รับเหมา ต้องทราบชนิดของปูนซีเมนต์ให้ดี เพื่อจะได้ใช้งานได้ถูกต้อง

คุณภาพของคอนกรีต
ในมุมของการก่อสร้าง มีตัววัดคุณภาพของคอนกรีต คือ ต้องมีกำลังอัดเมื่ออายุครบ 28 วัน ซึ่งมีหน่วยเป็น Ksc (Kilogram per Squar Centimeter) ซึ่งถ้าต้องการทราบค่าต้องทดสอบในห้องปฏิบัติการเท่านั้น โดยเฉพาะงานที่มีข้อกำหนดพิเศษ เนื่องจากงานก่อสร้างในบ้านเรามีผู้รับเหมาะหลายระดับ อาจทำให้คุณภาพของคอนกรีตไม่เป็นไปตามที่ต้องการ เนื่องจากมีการผสมเองบ้างเป็นบางส่วน ซึ่งอาจทำให้กำลังอัดไม่ได้ตามที่ต้องการ สำหรับปัญหานี้จึงมีกฎหมายกำหนดไว้ให้วิศวกรโครงสร้างเท่านั้นที่จะเป็นผู้รับผิดชอบและต้องมีการกำหนดแรงอัดของคอนกรีตไว้ ไม่ว่าจะผสมอย่างไรงานต้องออกมา และเป็นไปตามข้อกำหนดเท่านั้น ยกเว้นอาคารที่มีการควบคุมคุณภาพพิเศษ จึงจะผสมคอนกรีตอัดแรงสูงได้

การเลือกใช้งานคอนกรีตที่ถูกต้อง
ถ้าต้องการคอนกรีตที่มีกำลังอัดให้ได้มาตาฐานต้องใช้คอนกรีตผสมเสร็จที่ผลิตจากโรงงานคอนกรีตที่ได้มาตรฐานเท่านั้น เพราะจะได้คอนกรีตที่เหมาะสมกับงานเป็นอย่างดี และสามารถตรวจสอบได้ว่ามีกำลังอัดเท่าไหร่ การก่อสร้างบ้านที่อยู่อาศัยทั่วไป แนะนำให้ใช้ให้คอนกรีตที่มีกำลังอัดอยู่ที่ 210 Ksc หรือ 240 Ksc ก็เพียงพอ

เจ้าของบ้านต้องรู้เรื่องปูน ก่อนจ้างงานให้ ผู้รับเหมา


ปูน เป็นวัสดุที่สำคัญเพื่อใช้ในการก่อสร้างที่ช่างก่อสร้างทั้วไปรู้จักกันเป็นอย่างดี ปูนเป็นวัสดุที่มีราคาไม่สูงมากนัก สามารถที่จะปรับแต่งรูปทรงได้ตามที่ต้องการ หาซื้อได้ไม่ยาก มีความสะดวกในการใช้งาน แต่ท่านทราบหรือไม่ว่าปูนที่เป็นว่าเป็นของธรรมดา ๆ นั้นมันมีกี่ชนิด แต่ละชนิดต่างก็มีคุณสมบัติที่แตกต่างกันออกไป เรื่องนั้นผู้เป็นเจ้าของบ้านที่กำลังก่อสร้างควรต้องทราบ เพื่อที่จะได้ตัดสินใจเลือกในการก่อสร้างได้ แทนที่จะปล่อยให้ช่าง หรือผู้รับเหมาจัดการด้วยตนเอง โดยที่เราไม่รู้เรื่องอะไรเลย
ชนิดของปูน ซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ (Portland Cement) ที่ใช้ในการก่อสร้าง

สามารถแบ่งได้เป็น 5 ชนิดใหญ่ ๆ ดังนี้

1. ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ชนิดธรรมดา สำหรับใช้งานทั่วไป เช่น เทพื้น เพดาน หร้อเทเสา ใช้ทำเป็นคอนกรีตเสริมเหล็กได้ดี
2. ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด็ ชนิดดัดแปลง เป็นการเพิ่มคุณสมบัติของปูนที่ให้ความทนทานต่อการกัดกร่อนของบริเวณก่อสร้างที่มีเกลือซัลเฟตอยู่ด้วย ใช้ทำงานโครงสร้างขนาดใหญ่พวกพอหม้อสะพาน เขื่อน ที่อยู่บริเวณน้ำกร่อยหรือน้ำเค็ม เป็นต้น
3. ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ ชนิด High-Early Srtength เพื่อใช้งานที่ต้องการความเร็วในการปรับตัว หรืองานเร่งด่วนที่ต้องการด่วนพิเศษ เช่นการทำถนน และงานเร่งด่วนอื่น ๆ
4. ปูนซีเมนต์ปอร์แลนด์ชนิดความร้อนต่ำ เป็นปูนซีเมนต์ที่ออกแบบมาให้รับความร้อนในการแข็งตัวได้เป็นจำนวนน้อย ส่งผลให้คอนกรีตไม่แตกร้าวได้ง่าย ๆ
5. ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ ชนิดทนเกลือซันเฟตได้สูง เพื่อใช้ในการก่อสร้างที่มีสภาพดินเค็มกว่าปกติ หรืออยู่ที่บริเณใกล้ทะเลที่มีสภาพอาการชื้นและเค็ม

และนี้ก็คือชนิดหรือแบบของปูนที่มีการใช้งานอยู่ทั่วไป ซึ่งอาจดูว่าเป็นเรื่องยากในการใช้งานของผู้ไม่รู้ หรือเจ้าชองบ้านที่ยังอ่อนหัดเรื่องปูนซีเมนต์ แต่ปูนซีเมนต์ก็ยังไม่ได้มีเพียงแค่นี้ เรายังสามารถแบ่งย่อยได้อีกหลายชนิด เช่น ปูนฉาบสำเร็จ ซึ่งเป็นปูนที่มีส่วนผสมของทรายละเอียดอยู่ในเนื้อปูน ใข้ผสมน้ำแล้วฉาบได้ทันที, ปูนฉาบผิวบาง ได้แก่ปูนสำหรับการซ่อมแซมผิวคอนกรีตที่ชำรุด หรือการฉาบผนังคอนกรีตสำเร็จรูป, ปูนฉาบละเอียด เป็นปูนชนิดที่นำมาฉาบเพื่อการแต่งหน้า มีเนื้อปูนที่ละเอียดเนียนเป็นพิเศษ เพื่อใช้ฉาบแต่หน้าคอนกรีตทั่วไป, ปูนกาว หรือที่รู้จักกันในชื่อกาวซีเมนต์ เป็นปูนสำเร็จที่ใช้ในการยึดติดกระเบื้องกับผนังหรือพื้น มีคุณสมบัติที่เหนียวและการยึดติดสูง, ปูนเกร๊าท์ ปูนชนิดนี้จัดอยู่ในประเภทสารเคมีชนิดหนึ่งมากกว่าปูน แต่ก็ยังนิยมเรียกว่าปูน ใช้ในการซ่อมแซมต่าง ๆ, ปูนซ่อมเอนกประสงค์ เป็นปูนสำหรับการซ่อมแซมรอยแตกร้าวของผนัง คาน เสา หรือพื้น ใช้งานได้ง่านไม่ยุ่งยากแค่ผสมน้ำก็ใช้ได้แล้ว

และนี่ก็คือปูนชนิดต่าง ๆ ที่เราควรทำความรู้จัก เพื่อเลือกซื้อได้ตามประเภทของงาน ซึ่งจะได้ร่วมในการตัดสินใจในการใช้งานของช่างผู้รับเหมา ทั้งนี้เพื่อให้เราได้วัสดุที่เหมาะสมในการใช้งานได้มากที่สุด

เครดิตข้อมูลและภาพ
https://scghome.com/

ปูนเสือ มอร์ตาร์ ปูนซีเมนต์สำเร็จรูป สูตรพิเศษเฉพาะ ที่จะช่วยบริหารเวลาการทำงาน

ปูนเสือ มอร์ตาร์ คือ ปูนคุณภาพดี ที่ผสมกับวัสดุผสมคุณภาพสูง และสารพิเศษจากเสือมอร์ตาร์ กลายเป็นปูนสำเร็จรูปเสือ มอร์ตาร์ ที่ผสมใช้นํ้าได้ทันที ลดพื้นที่กองเก็บทราย เพิ่มประสิทธิภาพให้กับงานก่อสร้าง ได้งานที่เสร็จไว สวยสมบูรณ์แบบ ที่จะช่วยให้ช่างบริหารเวลาการทำงานได้ดียิ่งขึ้น บริหารทั้งเวลา ฝีมือแรงงาน และบริหารงบประมาณ ซึ่งผลิตภัณฑ์เสือมอร์ตาร์จะสามารถตอบโจทย์งานปูนที่หลากหลาย ทั้งงานปูนก่อทั่วไป ฉาบทั่วไป ก่ออิฐมวลเบา และฉาบอิฐมวลเบา

เหตุผลที่ต้องเลือกเสือ มอร์ตาร์
• ควบคุมคุณภาพได้อย่างดีเยี่ยม ด้วยเทคโนโลยีการคัดเลือก และการคัดสรรวัสดุผสมจากโรงงาน ให้คุณพร้อมใช้ เพื่อลดปัญหาทรายที่สกปรก และการผสมที่ผิดสัดส่วน
• สะดวกใช้ได้เลย เพียงฉีกถุงผสมนํ้าก็สามารถใช้ได้ทันที ไม่ต้องผสมทราย หรือสารเคมีอื่น
• บริหารจัดการไซต์งาน ไซต์งานสะอาดจากการไม่ต้องกองเก็บทราย ลดการสูญเสียทราย และวัสดุผสม
• ทำงานไว ช่วยประหยัดเวลาทั้งเวลาขน และเวลาผสมทราย ไม่ต้องร่อนทราย ทำให้ทำงานเสร็จได้ไวยิ่งขึ้น
• สูตรพิเศษเฉพาะ ป้องกันปัญหาแตกร้าวได้ดีขึ้น และลดปัญหาผนังหลุดล่อน รวมถึงสารเคมีพิเศษเพื่อให้เหมาะกับแต่ละงาน
• สวยสมบูรณ์แบบ ทั้งงานก่อที่แข็งแกร่ง แน่นปึ้ก และงานฉาบ ที่ผิวเรียบเนียนสวย รวมถึงงานเท ที่แน่น ทน แกร่ง

เสือมอร์ตาร์ ก่อทั่วไป สำหรับอิฐมอญ อิฐบล็อก
คุณสมบัติ มีสารอุ้มนํ้า เพิ่มแรงยึดเกาะอิฐได้ดีขึ้น 3 เท่า และ มาตรฐานมอก. 598-2547
พื้นที่การใช้งาน (มวลสุทธิ 50 กก. ต่อนํ้า 7-9 ลิตร)
ก่ออิฐมอญครึ่งแผ่น ที่ความหนา 1 ซม. ก่อได้ประมาณ 1.3-1.5 ตร.ม.
ก่ออิฐบล็อก ที่ความหนา 1-2 ซม. ได้พื้นที่ประมาณ 2.5-2.8 ตร.ม.

เสือมอร์ตาร์ ฉาบทั่วไป สำหรับอิฐมอญ อิฐบล็อก
คุณสมบัติ มีสารอุ้มนํ้า เพิ่มฟองอากาศ เพิ่มแรงยึดเกาะ แห้งในเวลาที่เหมาะสม ฉาบลื่น ผสมไว และ มาตรฐานมอก. 1776-2542
พื้นที่การใช้งาน (มวลสุทธิ 50 กก. ต่อนํ้า 9-11 ลิตร)
ความหนา 1 ซม. ฉาบได้ 2.5-2.6 ตร.ม.
ความหนา 1.5 ซม. ฉาบได้ 1.6-1.7 ตร.ม.

เสือมอร์ตาร์ ก่ออิฐมวลเบา
คุณสมบัติ มีสารอุ้มนํ้า เพิ่มแรงยึดเกาะ พื้นที่การใช้งาน (มวลสุทธิ 50 กก. ต่อนํ้า 13.0-15.5 ลิตร)
ก่ออิฐมวลเบาขนาดมาตรฐาน 7 ซม. ที่ความหนา 2-3 มม.
ก่อได้ประมาณ 25-30 ตร.ม. มวลสุทธิ 50 กก.

เสือมอร์ตาร์ ฉาบอิฐมวลเบา
คุณสมบัติ มีสารอุ้มนํ้า เพิ่มฟองอากาศ เพิ่มแรงยึดเกาะ แห้งในเวลาที่เหมาะสม ใช้ได้กับเครื่องพ่นปูน ฉาบ และฉาบได้พื้นที่มากกว่า 10% พื้นที่การใช้งาน (มวลสุทธิ 50 กก. ต่อนํ้า 10 – 12 ลิตร)
ความหนา 0.5 ซม. ฉาบได้ 5.0-5.5 ตร.ม.
ความหนา1.0 ซม. ฉาบได้ 2.6-2.8 ตร.ม.

เครดิตข้อมูลและภาพ
https://www.tigerbrandth.com/

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า